กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2103
ชื่อเรื่อง: | การยอมรับการใช้สารชีวภาพเพื่อลดและทดแทนการใช้สารเคมี ในการผลิตพืชปลอดภัยของเกษตรกรจังหวัดแพร่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Farmer's adoption of biological substance utilization for reducing and replacing chemical substance application of safety crop production in Phrae Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา สุธีรา สถาปัตย์, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ ยากำจัดศัตรูพืชจากธรรมชาติ สารชีวภาพควบคุมศัตรูพืช การปลูกพืช |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจของ (2) ความรู้ แรงจูงใจ และความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สารชีวภาพเพื่อลดและทดแทนการใช้สารเคมีในการผลิตพืชปลอดภัยของเกษตรกร (3) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับการใช้สารชีวภาพเพื่อลดและทดแทนการใช้สารเคมีในการผลิตพืชปลอดภัยของ เกษตรกร (4) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้สารชีวภาพเพื่อลดและทดแทนการใช้สารเคมีในการผลิตพืชปลอดภัยของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรมากกว่าครึ่ง เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.72 ปี จบการศึกษาชั้นประถม ปีที่ 4 มากที่สุด มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.83 คน มีประสบการณ์ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 22.01 ปี และมีประสบการณ์ ในการใช้สารชีวภาพเฉลี่ย 5.27 ปี ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการใช้สารชีวภาพใน การเกษตรจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เอกสารจากหน่วยงานราชการ และสื่อวิทยุ โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง มากกว่าแหล่งข้อมูลอื่นๆ รายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 4,930.97 บาทต่อเดือน ขนาดพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 4.77 ไร่ (2) เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารชีวภาพในการเกษตรอยู่ในระดับมาก มีความคิดเห็น เกี่ยวกับแรงจูงใจในการใช้สารชีวภาพในระดับมาก (3) ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกใน ครัวเรือน ขนาดพื้นที่ทำการเกษตร การเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนาและดูงาน การรับข้อมูลข่าวสารด้านการใช้ สารชีวภาพ ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารชีวภาพ และระดับแรงจูงใจในการใช้สารชีวภาพมี ความสัมพันธ์กับการยอมรับการใช้สารชีวภาพเพื่อลดและทดแทนการใช้สารเคมีในการผลิตพืชปลอดภัยของเกษตรกร (4) ปัญหาของเกษตรกร คือ การใช้สารชีวภาพต้องใช้บ่อยครั้งและใช้ปริมาณมากจึงจะเพียงพอต่อการ เจริญเติบโตของพืช สำหรับข้อเสนอแนะ เกษตรกรเสนอแนะว่า หน่วยงานภาครัฐและเจ้า หน้าที่ควรมีการสนับสนุนเกษตรกรในด้านวัตถุดิบและวัสดุอุปกรณ์ในการใช้สารชีวภาพในการ เกษตร ควรส่งเสริมการใช้สารชีวภาพในการเกษตรอย่างจริงจังและต่อเนื่อง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2103 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
134113.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License