Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2105
Title: การจัดการศัตรูพืชในนาข้าวของเกษตรในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Rice pest management by farmers in the area under Huai Hong Khrai Royal Development Study Center in Doi Saket District of Chiang Mai Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินินุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุลัยรัตน์ ยาฝั้น, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ข้าว--โรคและศัตรูพืช--การป้องกันและควบคุม
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการจัดการศัตรูพืชในนาข้าวของเกษตรกร (3) ความรู้และความคิดเห็นของเกษตรกรในการจัดการศัตรูพืชใน นาข้าว (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม เศรษฐกิจ ความรู้ความคิดเห็น กับการจัดการศัตรูพืช ในนาข้าวของเกษตรกร และ (5) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการจัดการศัตรูพืชในนาข้าว ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคมและเศรษฐกิจ พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 52.90 ปี จบการศึกษาชั้นประถมปี ที่ 4 มีประสบการณ์ในการเพาะปลูกข้าวเฉลี่ย 22.98 ปี มีแรงงานด้าน การเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 2.20 คน มากกว่าครึ่งหนึ่งไม่มีสถานภาพการเป็นอาสาสมัครและผู้นำชุมชน มีการ ติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรโดยเฉลี่ย 2.96 ครั้ง/ปี ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่ม/องค์กรที่เกี่ยวข้องกับ การเกษตร ประสบการณ์เข้าร่วมประชุม สัมมนาและดูงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 1.14 ครั้ง แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสาร ด้านการเกษตรที่เป็นรายบุคคลส่วนใหญ่รับข้อมูลข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร แบบกลุ่มรับข้อมูลจากการ ประชุมกลุ่ม และแบบมวลชนส่วนใหญ่รับข้อมูลมาจากข่าวสารจากโทรทัศน์ มีการถือครองที่ดินเฉลี่ย 8.09 ไร่ รายได้ ครัวเรือนเฉลี่ย 106,043.57 บาทต่อปี ส่วนใหญ่กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน โดยเกษตรกรมีหนี้สินเฉลี่ย 105,962.57 บาท (2) มีการยอมรับในการจัดการศัตรูพืชในนาข้าวในเชิงความคิดเห็นและเชิงปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (3) เกษตรกรมี ความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการศัตรูพืชในนาข้าวในระดับมาก (4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการ ศัตรูพืชในนาข้าวของเกษตรกร ในเชิงความคิดเห็นอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติในเชิงลบได้แก่ ประสบการณ์เข้าร่วม ประชุม ฝึกอบรม สัมมนาและดูงานด้านการเกษตรรวม ส่วนในทางบวกได้แก่ ความคิดเห็นต่อการจัดการศัตรูพืชใน นาข้าว และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในเชิงปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งในทางลบ ได้แก่ การติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมการเกษตร ส่วนในทางบวก ได้แก่ การถือครองที่ดินรวม (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการศัตรูพืชใน นาข้าวในระดับมากที่สุดได้แก่ ปัญหาต้นทุนการผลิตของเกษตรกรสูงขึ้น เช่น ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช แรงงานเป็นต้น แต่ ราคาผลผลิตข้าวเท่าเดิม
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2105
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
134114.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.36 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons