Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2106
Title: | การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตกาแฟของเกษตรกรในจังหวัดระนอง |
Other Titles: | Adoption of coffee production technology by farmers in Ranong Province |
Authors: | พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา วสันต์ สุขสุวรรณ, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ กาแฟ--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการผลิตกาแฟของเกษตรกร ( 3 ) การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตกาแฟของเกษตรกร (4 ) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตกาแฟของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51.9 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาตอนต้น เป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ และไม่มีตำแหน่งทางสังคม มีอาชีพหลักทำสวนกาแฟ อาชีพรองทำสวนไม้ผล มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 1.79 คน และมีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.12 คน มีพื้นที่ปลูกกาแฟเฉลี่ย 11.98 ไร่ มีประสบการณ์ในการทำสวนกาแฟเฉลี่ย 20.21 ปี ผลผลิตกาแฟในรอบปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 159.95 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้จากการผลิตกาแฟในรอบปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 113,192 บาท และมีรายจ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย 21,657 บาท (2) เกษตรกรมีความรู้ระดับดีมากในการผลิตกาแฟ (3) เกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีการผลิตกาแฟเชิงความคิดเห็น ระดับมากที่สุดใน 8 ประเด็น ได้แก่ การทำปุ๋ยหมักจากแกลบกาแฟ การตัดแต่งกิ่งกาแฟ การใส่ปูนโดโลไมท์ปรับสภาพดินในสวนกาแฟ การกำจัดศัตรูกาแฟ การใส่ปุ๋ยกาแฟ การตัดฟื้นต้นกาแฟ การจัดการดินปลูกกาแฟบนพื้นที่ที่ลาดชัน และการเปลี่ยนยอดกาแฟให้เป็นพันธุ์ดี ยกเว้นยอมรับระดับมากในประเด็นพันธุ์กาแฟโรบัสต้าที่เหมาะสมในจังหวัดระนอง เกษตรกรส่วนใหญ่สามในสี่ส่วนขึ้นไปยอมรับนำไปปฏิบัติเรียงลำดับจากมากไปน้อยในประเด็นดังต่อไปนี้ การตัดแต่งกิ่งกาแฟ การใส่ปูนโดโลไมท์ปรับสภาพดินในสวนกาแฟ การตัดฟื้นต้นกาแฟ การทำปุ๋ยหมักจากแกลบกาแฟ การกำจัดแมลงศัตรูกาแฟ และการใส่ปุ๋ยกาแฟ (4) ปัญหาในภาพรวม พบว่าเกษตรกรมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย โดยมีปัญหาระดับมากในการผลิต ได้แก่ ปุ๋ยราคาแพง ปัญหาด้านการตลาด ได้แก่ พ่อค้าคนกลางกดราคา ราคาผลผลิตไม่แน่นอน ซึ่งเกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้ลดราคาปุ๋ยเคมีให้ต่ำลง ส่งเสริมให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ควรกำหนดราคากาแฟให้แน่นอนตามคุณภาพผลผลิต และให้นำเกษตรกรไปศึกษาดูงานในแหล่งผลิตที่มีการบริหารจัดการดี เพื่อจะได้นำมาปรับใช้ในสวนของเกษตรกรได้ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2106 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
134498.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License