กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2107
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายทารกเกิดก่อนกำหนดโรงพยาบาลตำรวจ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of a discharge planning nursing model for premature infants at Police General Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศรีนวล สถิตวิทยานันท์, 2495- อาจารย์ที่ปรึกษา วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา สมจิตต์ อุทยานสุทธิ, 2497- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ ทารกคลอดก่อนกำหนด |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายทารก เกิดก่อนกำหนด โรงพยาบาลตำรวจ และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการวางแผนจำหน่ายทารกเกิดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงคือ พยาบาลวิชาชีพ ที่ดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด ในหอผู้ป่วยทารกแรก เกิดมีปัญหาและไอซียูกุมาร จำนวน 10 คน มารดาที่คลอดทารกก่อนกำหนด 10 คน ทารกเกิดก่อนกำหนด 13 คน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ (1) ประเด็นสนทนากลุ่ม (2) รูปแบบการวางแผนจำหน่ายทารกเกิดก่อนกำหนด (3) แบบทดสอบความรู้การวางแผนจำหน่ายทารกเกิดก่อนกำหนด โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ตรวจสอบความตรงตามเนี้อหาและนำมาหาค่าดัชนีความสอดคล้องได้ค่า IOC - 0.79 (4) แผนการสอบพยาบาลเรื่องการวางแผนจำหน่ายทารกเกิดก่อนกำหนด (5) แบบสอบถามพยาบาลเกี่ยวกับประสิทธิผลการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายทารกเกิดก่อนกำหนด และผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยได้ค่า CV1 - 0.73 และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นได้ค่าครอนบาคอัลฟ่า = 0.76 (6) แบบสอบถามมารดาเกี่ยวกับประสิทธิผลการใช่รูปแบบการวางแผนจำหน่ายทารกเกิดก่อนกำหนด และผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความตรงตามเนี้อหา โดยได้ค่า CV1 - 0.77 และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นได้ค่าครอนบาคอัลฟ่า = 0.73 (7) แบบบันทึกผลการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายทารกเกิดก่อนกำหนดวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Wilcoxon match pair sign rank test ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนี้อหา ผลการวิจัยสรุป ได้ดังนี้ (1) ผลการเปรียบเทียบความรู้พยาบาลก่อนและหลังอบรมเรื่องการวางแผน จำหน่ายทารกเกิดก่อนกำหนด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ในหอผู้ป่วยที่ 1 (2) ความดิดเห็นของ พยาบาลเกี่ยวกับประสิทธิผลของรูปแบบก่อนและหลังทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (3) ความดิดเห็นของมารดาเกี่ยวกับประสิทธิผลของรูปแบบอยู่ในระดับมาก สี่งที่มารดาได้รับการสอนและฝึก ทักษะมากที่สุดคือ การให้นมมารดาและการดูแลบุตรทั่วไป (4) ข้อมูลเชิงคุณภาพขณะอยู่โรงพยาบาล มารดา สามารถให้นมมารดา นวดสัมผัสทารกและทำแกงการูแคร์ได้ทุกคน เมื่อจำหน่ายกลับบ้านมารดาให้นมมารดา ต่อเนื่องทุกคน นวดสัมผัสทารกต่อ 3 คน ไม่มีมารดาทำแกงการูแคร์ต่อ ด้านทารกไม่มีทารกกลับมานอนรักษาซํ้า ในโรงพยาบาลภายใน 28 วัน ทารกมาตรวจตามนัดทุกราย จำนวนวันนอนเฉลี่ย 15.2 วัน ไม่มีทารกเป็น ROP ตรวจการได้ยินไม่ผ่าน 2 คน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2107 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib140604.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 23.99 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License