Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2109
Title: การยอมรับเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในตำบลหนองกุ่ม อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: Farmer adoption of appropriate cassava production technology in Nong Kum Sub-district, Bo Phloi District, Kanchanaburi Province
Authors: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุณยลักษณ์ กำเลิศทอง, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มันสำปะหลัง--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรในตำบลหนองคุ่ม อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี (2) ความรู้พื้นฐานและระดับความรู้ที่ได้รับจากแหล่งความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตมันสำปะหลัง (3) การยอมรับเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตมันสำปะหลัง (4) ปัจจัยที่เที่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตมันสำปะหลัง(5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเที่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรมากกว่าครึ่งเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51.3 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 8.50ปี จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.30 คน พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังทั้งหมดเฉลี่ย 25.02 ไร่ ผลผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 3.63 ตันต่อไร่ รายได้เฉลี่ย 7,682.55 บาทต่อไร่ รายจ่ายเฉลี่ย 3,238.37 บาทต่อไร่ (2) เกษตรกรมีความรู้เฉลี่ยในระดับมากที่สุด และระดับความรู้ที่ได้รับจากแหล่งความรู้ต่างๆ ภาพรวมระดับน้อย แหล่งความรู้ที่ได้รับ ด้านสื่อบุคคล ในระดับมาก จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของรัฐ และเพี่อนบ้าน ด้านสื่อกิจกรรม ในระดับมาก จากการจัดฝึกอบรมของหน่วยงานภาครัฐ และ การศึกษาดูงาน ด้านสื่อมวลชน ในระดับมาก จากเอกสารของหน่วยงานราชการ (3) เกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตมันสำปะหลังในเชิงความคิดเห็นระดับมากที่สุดและเกษตรกรมากกว่าสีในน้ำมีการยอมรับในเชิงปฏิบัติ (4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีที่เหมาะสมในเชิงความคิดเห็น ได้แก่ประสบการณ์ปลูกมันสำปะหลัง ความรู้พื้นฐานเที่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตมันสำปะหลัง และจำนวนแรงงานในครัวเรือน (5) ปัญหาเที่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตมันสำปะหลังภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรจัดให้มีแหล่งพันธุ์ดีและควรฝึกอบรมใน้ความรู้เรื่องการคัดเลือกพันธุ์ดีและวิธีการสุ่มวัดเปอร์เซนต์แป้งก่อนการเก็บเกี่ยว ควรทำฝนเทียมในช่วงฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงควรปรับให้ค่าจ้างแรงงานถูกลง ควรมีการสนับสนุนสารเคมีแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังแก่เกษตรกรเป็นประจำ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2109
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
134500.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.36 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons