กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2111
ชื่อเรื่อง: | การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการดำเนินงานพัฒนาชุมชนสันติสุขตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Farmers participation in the operation of peace community development adhering to the sufficiency economy philosophy in Maikaen District of Pattani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา กวี ดำพลับ, 2517- |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ เกษตรกร--ไทย--ปัตตานี การมีส่วนร่วมของเกษตรกร--ไทย--ปัตตานี เศรษฐกิจพอเพียง |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร (2) ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (3) การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการดำเนินงาน (4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานพัฒนาชุมชนสันติสุขตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2554 ของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 57.68 ปี ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและไม่ได้รับการศึกษาภาคบังคับ ประสบการณ์การทำการเกษตรเฉลี่ย 18.44 ปี มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 3.36 ครั้งต่อปี ส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวน มีรายได้เฉลี่ยรวม 69,783.59 บาท รายจ่ายของครอบครัวส่วนใหญ่จะใช้เพื่อลงทุนในการประกอบอาชีพภาคการเกษตร จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.39 คน เป็นแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.48 คน ขนาดพื้นที่การเกษตรเฉลี่ย 6.01 ไร่ แหล่งและระดับการได้รับความรู้ทางการเกษตรจากสื่อต่าง ๆ ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย แต่เกษตรกรได้รับความรู้จากสื่อบุคคลประเภทญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านอยู่ในระดับมาก (2) ความรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรอยู่ในระดับปานกลาง (3) การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการวางแผน การปฏิบัติ การรับประโยชน์ และการติดตามและประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง (4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ได้แก่ ศาสนา ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่น การเป็นสมาชิกกลุ่ม ตำแหน่งทางสังคม การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ระดับการได้รับความรู้ข่าวสารทางการเกษตรจากแหล่งต่าง ๆ สถานภาพการสมรส ขนาดครัวเรือน การประกอบอาชีพของครัวเรือน รายจ่ายของครัวเรือน แหล่งออมเงิน แหล่งเงินทุน แรงงานในครัวเรือน จำนวนหนี้สิน และความรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (5) ปัญหาของเกษตรกรในการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย และการขาดความเข้าใจด้านการสื่อสารอยู่ในระดับปานกลาง โดยเสนอแนะให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่บ่อย ๆ และสม่ำเสมอ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2111 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
134532.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.77 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License