กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2112
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการจัดการความขัดแย้งของบุคลากรทางการพยาบาลโรงพยาบาลพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of the conflict management model of nursing personnel at Phayamengrai Hospital, Chiang Rai Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เรณุการ์ ทองคำรอด, อาจารย์ที่ปรึกษา ศรีนวล สถิตวิทยานันท์, 2495- อาจารย์ที่ปรึกษา สารภี นพคุณ, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ การบริหารความขัดแย้ง |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการณ์ความขัดแย้งของ บุคลากรทางการพยาบาล (2) พัฒนารูปแบบการจัดการความขัดแย้งของบุคลากรทางการพยาบาล และ (3) ศึกษา ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการความขัดแย้งของบุคลากรทางการพยาบาล ใรงพยาบาลพญาเม็งราย จังหวัด เชียงราย กลุ่มตัวอย่างประกอบเป็นบุคลากรของโรงพยาบาลพญาเม็งราย จำนวน 12 คน ประกอบด้วย หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล รองหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล หัวหน้าหอผู้ป่วย หัวหน้างานเวชปฏิบัติและครอบครัว หัวหน้างานเภสัชกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ส่วน ได้แก่ 1) แนวคำถามกึ่งโครงสร้างในการสนทนากลุ่ม เกี่ยวกับการวิเคราะห์สถานการณ์ความขัดแย้ง 2) รูปแบบการจัดการความขัดแย้ง และ (3) แบบวัดความพึงพอใจ ต่อการใชัรูปแบบการจัดการความขัดแย้ง ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้สร้างขึ้นด้วยตนเอง ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดย การหาค่าดัชนีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ได้เท่ากับ 0.92, 0.84 และ 0.90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิง เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัญหาความขัดแย้งของบุคลากรทางการพยาบาล ประกอบด้วย 8 ประเด็น (2) รูปแบบการจัดการความขัดแย้ง ของบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลพญาเม็งราย ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การมีทัศนคติที่ดีต่อความขัดแย้ง การมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับความขัดแย้ง และการใชักระบวนการจัดการความขัดแย้ง 5 ขั้นตอน (3) หลังจากทดลองใช้รูปแบบการจัดการความขัดแย้ง กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติที่ดีต่อความขัดแย้ง อยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.83 SD = 0.38) การมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับความขัดแย้ง อยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 12.9 SD = 0.90) และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการความขัดแย้ง ในภาพรวมในระดับมากที่สุด ( X = 4.90 SD = 0.91) โดยมีความชัดเจนอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.91 SD = 0.13) ความเข้าใจง่ายอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.88 SD = 0.14 ) และมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในระดับมากที่สุด ( X = 4.92 SD = 0.11) |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2112 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib140607.pdf | เอกสารแบับเต็ม | 19.47 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License