กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2122
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of a nursing mentor model for Suratthani Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัชนี นามจันทรา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริเพ็ญ วีระจิตต์, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
พยาบาลพี่เลี้ยง
พยาบาล -- การฝึกอบรมในงาน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพี่อ (1) พัฒนารูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงให้เหมาะสม กับบริบท โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี (2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยง และ (3) ประเมินความพึงพอใจต่อการนำรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยง ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างหรือผู้ให้ข้อมูลได้รับการลัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย 1) ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน สำหรับประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ 2) พยาบาลวิชาชีพพี่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยพยาบาลจบใหม่ 12 คน พยาบาลพี่เลี้ยง 12 คน และหัวหน้าหอผู้ป่วย 6 คน สำหรับประเมินความ พึงพอใจต่อการนำรูปแบบไปใช้เครื่องมือการวิจัยมี 3 ชุด ได้แก่ (1) รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงที่พัฒนา โดย สุพรรณี พูนเพิ่มสุขสมบัติ (2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงที่พัฒนาขึ้น และ (3) แบบประเมิน ความพึงพอใจต่อผลการนำรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงที่พัฒนาขึ้นมาใช้ใน โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี เครื่องมือผ่าน การตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบดังนี้ (1) รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ (ก) วัตถุประสงค์ (ข) ขั้นตอนการดำเนินงาน (ค) แนวทางในการนำรูปแบบไปใช้และ (ง) แผนการ ปฏิบัติงานของพยาบาลพี่เลี้ยง และพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ซึ่ง ประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะการสร้าง สัมพันธภาพ ระยะการแสดงบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง และระยะสี้นสุดของการเป็นพยาบาลพี่เลี้ยง และ (2) รูปแบบ พยาบาลพี่เลี้ยงโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี พี่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมกับบริบท โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ร้อยละ 90 และ (3) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการนำรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงที่พัฒนาขึ้นไปใช้ ได้ค่าเฉลี่ยโดยอยู่ในระดับมาก (M=4.40 ร£>=.563)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2122
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib140916.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons