กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2129
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Causal factors influencing nursing competency of registered nurses in Tambon Health Promoting Hospitals, Buriram Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุทธีพร มูลศาสตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา กุญชร เจือตี๋, อาจารย์ที่ปรึกษา เมธา พันธ์รัมย์, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ พยาบาล -- ไทย -- บุรีรัมย์ -- ความพอใจในการทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงทำนายครั้งนื้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ (2) อำนาจในการทำนายของปัจจัยจูงใจและปัจจัย ค้ำจุนต่อแรงจูงใจในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัด บุรีรัมย์ (3) อำนาจในการทำนายของแรงจูงใจในการทำงานต่อสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฎิบัติงาน ในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 155 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป ปัจจัยจูงใจและปัจจัยคํ้าจุน แรงจูงใจในการ ทำงาน และสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แบบสอบถามมีค่าดัชนี ความตรงตามเนื้อหาของส่วนที่ 2-4 เท่ากับ 0.85, 0.96 และ 0.85 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์ ความเที่ยงเท่ากับ 0.93, 0.84 และ 0.99 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการ วิเคราะห์เส้นทาง ผลการศึกษาพบว่า (1) สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมอย่ในระดับสูง (M = 3.98, SD = 0.43) (2) ปัจจัยจูงใจได้แก่ ความสำเร็จในงาน ความรู้สึกได้รับการยอมรับ ความรับผิดชอบต่องาน และปัจจัยคํ้าจุน ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล สถานภาพวิชาชีพ นโยบายและการบริหารงานขององค์กร เงินเดือน และปัจจัยในชีวตส่วน บุคคล ร่วมทำนายแรงจูงใจในการทำงานได้ ร้อยละ 50 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 (3) แรงจูงใจ ในการทำงานสามารถทำนายสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้ร้อยละ 35 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2129 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib140920.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 23.36 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License