กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2136
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการส่งเสริมการผลิตพืชอาหารสัตว์ภายใต้โครงการวิจัยและทดสอบพันธุ์กระบือของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สุรินทร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Farmers' satisfaction towards the extension of forage crop production under buffalo reserach and testing project of Surin Livestock Breeding and Research Center
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฉลองชัย ชุ่มชื่น, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
อาหารสัตว์--การผลิต
ความพอใจ
การส่งเสริมการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) การผลิตและการใช้ประโยชน์จากพืชอาหารสัตว์ (3) ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการส่งเสริมการผลิตพืชอาหารสัตว์ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในกระบวนการผลิตพืชอาหารสัตว์ของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรที่ให้สัมภาษณ์มากกว่ากึ่งหนึ่ง เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.55 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 4.58 คน แรงงานครัวเรือนเฉลี่ย 2.29 คน มีอาชีพทานา พื้นที่ถือครองเฉลี่ย 24.71 ไร่ มีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 152,705.90 บาท และหนี้สินครัวเรือน เฉลี่ย 190,537.50 บาท (2) การผลิตพืชอาหารสัตว์ ส่วนใหญ่ปลูกหญ้าพันธุ์รูซี่ ใช้พื้นที่เฉลี่ย 0.98 ไร่ ใช้แรงงานเฉลี่ย 1.74 คน เกษตรกรมีประสบการณ์ผลิตพืชอาหารสัตว์เฉลี่ย 6.38 ปี สภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ดอน มีการเตรียมดินก่อนปลูกเฉลี่ย 1.31 ครั้ง ปลูกด้วยวิธีการหว่านด้วยเมล็ดเฉลี่ย 2.65 กก.ต่อไร่ ส่วนใหญ่ไม่กาจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี ตัดหญ้าได้ครั้งละเฉลี่ย 242.93 กก.ต่อไร่ สามารถใช้ประโยชน์จากแปลงหญ้าเฉลี่ย 3.43 ครั้งต่อปี สาหรับการผลิตและการจัดการเลี้ยงดูกระบือพบว่า เกษตรกรเลี้ยงกระบือ เฉลี่ย 4.17 ตัว จาหน่ายกระบือเฉลี่ย 1.54 ตัว มีรายได้และรายจ่ายจากการเลี้ยงกระบือ เฉลี่ย 26,560.00 บาท และ 4,718.98 บาท ตามลาดับ (3) ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการส่งเสริมการผลิตพืชอาหารสัตว์ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่พอใจอยู่ในระดับมาก (4) ปัญหาการผลิตพืชอาหารสัตว์ พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง และมีข้อเสนอแนะ ขอให้มีการสนับสนุนแหล่งน้า และพันธุ์พืชอาหารสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2136
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
135247.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons