Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2139
Title: ผลของการจัดโปรแกรมบริการพยาบาลที่เสริมสร้างความรู้และความสามารถในการบริหารมือด้วยตนเองต่อความรุนแรงของอาการและความสามารถในการใช้มือของผู้ป่วยกลุ่มอาการอุโมงค์ข้อมือที่บำบัดแบบผู้ป่วยนอก
Other Titles: The effects of a nursing service program enhancing knowladge and ability of self-hand exercises on severity of symptoms and ability of hand functions of patients with carpal tunnel syndrome treated at the out patient unit
Authors: สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
พงษ์ชัย แซ่เฮ้ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัจฉรา ไชยกุล, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มือ
กายบริหารยืดเส้น
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดโปรแกรมบริการ พยาบาลที่เสริมสร้างความรู้และความสามารถในการบริหารมือด้วยตนเองต่อความรุนแรงของอาการและ ความสามารถในการใช้มือของผู้ป่วยกลุ่มอาการอุโมงค์ข้อมือที่บำบัดแบบผู้ป่วยนอก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกลุ่มอาการอุโมงค์ข้อมือที่มารับบริการ ที่ต้องตรวจศัลยกรรมกระดูกและข้อ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จำนวน 40 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับบริการตามกิจวัตร และกลุ่มที่ได้รับบริการพยาบาลตามโปรแกรม กลุ่มละ 20 ราย เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมบริการพยาบาลที่เสริมสรัางความรู้และความสามารถในการบริหารมือด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยกลุ่มอุโมงค์ข้อมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 3) แบบสอบถามบอสตัน ฉบับภาษาไทยของ สิทธิพงษ์ อุปถัมค์ และ วิลู กำเหนิดดี (2008) ซึ่งประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ประเมินความรุนแรงของอาการ จำนวน 11 ข้อ และ ส่วนที่ 2 ประเมินความสามารถในการใช้มือ จำนวน 8 ข้อ 4) แบบประเมินความเจ็บปวดแบบตัวเลข 1-10 และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจในโปรแกรมที่ได้รับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 15 ข้อ เครื่องมือทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ความเที่ยงของแบบสอบถามบอสตัน ในส่วนของแบบวัดความรุนแรงของอาการ เท่ากับ 0.90 และความสามารถในการใช้มือ เท่ากับ 0.95 และความเที่ยงของแบบประเมินความพึงพอใจ เท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ เปรียบเทียบความแตกต่างของของสองกลุ่มด้วยสถิติ Mann-Whitney U Test ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับบริการตามโปรแกรมมีความรุนแรงของอาการลดลงมีความสามารถ ในการใช้มือเพิ่มขึ้น และมีความเจ็บปวดน้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับบริการตามกิจวัตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และ มีความพึงพอใจในโปรแกรมในระดับมาก (M = 3.94)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2139
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib141007.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.69 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons