Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2145
Title: | อุปสรรคในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์: กรณีศึกษาหน่วยพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล |
Other Titles: | Barriers to research uilization : a case study at the routine to research Unit (R2R) the Faculty of Medicine, Siriraj Hospital |
Authors: | สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา กุลธร เทพมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา ศศิธร วัฒนกุลานุรักษ์, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ วิจัย -- การศึกษาการใช้ |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้อุปสรรคในการนำผลการวิจัยจาก โครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยพัฒนางานประจำสู่การวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระหว่าง พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2553 ไปใช้ 2) เปรียบเทียบการรับรู้อุปสรรคในการนำผลการวิจัยไปใช้ระหว่างกลุ่ม ผู้สร้างงานวิจัยกับกลุ่มผู้ใช้งานวิจัย และ 3) เปรียบเทียบการรับรู้อุปสรรคในการนำผลการวิจัยไปใช้ระหว่างกลุ่ม โครงการที่มีการนำผลการวิจัยไปใช้น้อยกว่าร้อยละ 50 กับกลุ่มโครงการที่มีการนำผลการวิจัยไปใช้มากกว่าร้อยละ 50 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้สร้างและ กลุ่มผู้ใช้งานวิจัย ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะแพทยศาสตร์คิริราชพยาบาล ระหว่าง พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2553 ใน 68 โครงการ จำนวน 147 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินการนำผลการวิจัยที่ลงสู่การปฏิบัติของโครงการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย 2) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และ 3) แบบสอบถามอุปสรรคในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ของฟังก์และคณะ (Funk et.al., 1991) ประกอบด้วย ข้อคำถาม 4 ด้าน จำนวน 29 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์, Independent t test and Mann Whitney U lest ระยะที่ 2 การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยส้มภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัยเป็นรายบุคคล จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้อุปสรรคในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ด้าน องค์กรสูงสุด (Md = 2.20, IQR = 0.78) โดยอุปสรรคสูงสุดรายข้อสามลำดับแรก ได้แก่ ไม่มีเวลาอ่านงานวิจัย (ร้อยละ 55.7) ไม่มีเวลาในขณะปฏิบัติงานในการคิดค้นหริอนำผลการวิจัยไปใช้ (ร้อยละ 50.3) และรู้สึกไม่มีอำนาจหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการปฏิบัติงาน (ร้อยละ 46.1 ) 2) กลุ่มผู้ใช้งานวิจัยมีการรับรู้อุปสรรคในการนำผลการวิจัยไปใช้โดยรวมสูงกว่ากลุ่มผู้สร้างงานวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 3) การรับรู้ อุปสรรคระหว่างกลุ่มโครงการที่มีการนำไปใช้น้อยกว่าร้อยละ 50 และกลุ่มที่มีการนำผลการวิจัยไปใช้มากกว่า ร้อยละ 50 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p> 0.05 ) สิ่งเอื้ออำนวยในการนำผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติงานที่กลุ่มตัวอย่างต้องการมากที่สุดได้แก่การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อฟังความเห็น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2145 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib141045.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License