Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2147
Title: | การใช้เกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตผักเหลียงของเกษตรกรในตำบลราชกรูด อำเภอเมือง จังหวัดระนอง |
Other Titles: | Application of good agricultural practice in melinjo production of farmers in Raj Grood Sub-district of Mueang District in Ranong Province |
Authors: | พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา พีรดา แซ่เตี้ยว, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ ผักเหลียง--การปลูก |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกษตรกรผู้ผลิตผักเหลียงในตำบลราชกรูด อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ดังนี้ (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกผักเหลียงในตำบลราชกรูดอำเภอเมือง จังหวัดระนอง (2) สภาพการผลิตและการตลาดผักเหลียงของเกษตรกร (3) ความคิดเห็นและการปฏิบัติตามเกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตผักเหลียงของเกษตรกร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้เกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตผักเหลียงของเกษตรกร ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ (1) เกษตรกรมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเพศหญิง มีอายุเลลี่ย 60.79 ปี และเกือบครึ่งหนึ่งจบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 หรือ 6 มีประสบการณ์ในการการผลิตผักเหลียง เฉลี่ย 17.97 ปี ได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ ในภาพรวมระดับปานกลาง และได้รับระดับมากที่สุดจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและการอบรม เกษตรกรสองในสามประกอบอาชีพหลักทาสวนปาล์มน้ำมัน และเกือบทั้งหมดมีอาชีพรองปลูกผักเหลียง มีขนาดพื้นที่ผลิตผักเหลียงเลลี่ย 1.09 ไร่ มีรายได้และรายจ่ายเลลี่ย 9,237.40 และ 1,294.59 บาท ตามลาดับ (2) เกษตรกรทั้งหมดปลูกผักเหลียงพันธุ์ยอดนิยมชนิดใบกว้าง/ใบใหญ่ ใช้ต้นอ่อนที่งอกจากรากมาเป็นต้นพันธุ์ กำจัดวัชพืชก่อนปลูกในดินร่วน ไม่มีการใส่ปุ๋ยและให้น้ำ ใช้วิธีการเก็บเกี่ยวโดยการใช้มือเด็ดชิดข้อเพื่อจาหน่ายทุก 7 วัน ปริมาณผลผลิตผักเหลียงเลลี่ย 57.76 กิโลกรัมต่อไร่ จาหน่ายในท้องถิ่นให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อผลผลิต โดยพ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนดราคาซื้อขาย (3) เกษตรกรมีความเห็นด้วยระดับมากในภาพรวมของเกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตผักเหลียง รวมทั้งการคัดเลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม การคัดเลือกพันธุ์ และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว แต่เห็นด้วยอย่างยิ่งในการเก็บเกี่ยวและการบันทึกข้อมูล ขณะที่เกษตรกรสองในสามมีการนาการจัดการดินและปุ๋ย และการบันทึกข้อมูลไปปฏิบัติ ส่วนประเด็นอื่นเกษตรกรเกือบทั้งหมดมีการนำไปปฏิบัติ (4) เกษตรกรมีปัญหาระดับมากในการจัดการดินและปุ๋ย และการเก็บเกี่ยว จึงเสนอให้มีการแนะนำส่งเสริมการใช้เกษตรดีที่เหมาะสมในด้านที่ยังปฏิบัติไม่เหมาะสม |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2147 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
135259.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License