กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2149
ชื่อเรื่อง: การผลิตมะม่วงของเกษตรกร อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Mango production by farmers in Ratchasan District, Chachoengsao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปริญญา ปานเจริญ, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มะม่วง--การปลูก
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) การผลิตมะม่วงของเกษตรกร (3) ความต้องการความรู้ด้านการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตมะม่วง ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 51.98 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนที่ใช้ในการผลิตมะม่วงเฉลี่ย 1.86 คน การจ้างแรงงานภายนอกเฉลี่ย 3.08 คน พื้นที่ปลูกเฉลี่ย 11.91 ไร่ มีประสบการณ์ในการผลิตมะม่วงเฉลี่ย 15.8 ปี เป็นสมาชิกของสถาบันเกษตรกรต่างๆ เกษตรกรส่วนใหญ่มีที่ดินสาหรับการผลิตมะม่วงเป็นของตนเอง มีเงินทุนสาหรับผลิตมะม่วงของตนเอง ผลิตมะม่วงเพื่อเป็นรายได้เสริมจากอาชีพอื่น มีการประกอบอาชีพทางการเกษตรอื่นร่วมกับการผลิตมะม่วง ส่วนใหญ่ทำนาข้าว มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากเกษตรกรเพื่อนบ้าน (2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้วัสดุปรับปรุงดิน และปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูก ใช้กิ่งทาบในการปลูก ปลูกมะม่วงระยะ 6x6 เมตร พันธุ์มะม่วงที่นิยมปลูกคือ น้ำดอกไม้ และเขียวเสวย ให้น้ำด้วยวิธีปล่อยเข้าร่องสวน ให้ปุ๋ยด้วยการหว่านรอบทรงพุ่ม ไม่นิยมบังคับการออกดอก ห่อผล และไม่นิยมขยายพันธุ์มะม่วงเอง โรคที่สาคัญคือ แอนแทรกโนส และราดา แมลงศัตรูพืชที่สาคัญคือเพลี้ยไฟ และแมลงวันผลไม้ เกษตรกรส่วนใหญ่คัดขนาดคุณภาพผลผลิตมะม่วงในโรงเรือน บรรจุใส่ลังพลาสติก และจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลาง ได้ผลผลิตเฉลี่ย 712.48 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 3,716 บาทต่อไร่ และรายได้เฉลี่ย 9,380.67 บาทต่อไร่ (3) เกษตรกรมีความต้องการด้านการส่งเสริมการเกษตรมากที่สุดในด้าน การบังคับการออกดอก โดยเจ้าหน้าที่จากทางราชการ ผ่านสื่อโทรทัศน์ และคู่มือการผลิต
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2149
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
135261.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons