Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2151
Title: การพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์โรคติดต่ออุบัติใหม่ของเครือข่ายสุขภาพอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
Other Titles: Development of a model on public relation about emerging infectious diseases of health networks, Selaphum District, Roi Et Province
Authors: สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัชราพร เกิดมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวรรณี สุวรรณท้าว, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
โรคติดต่ออุบัติใหม่ -- การประชาสัมพันธ์
โรคติดต่ออุบัติใหม่ -- การแพร่ระบาด
โรคติดต่ออุบัติใหม่ -- การป้องกันและควบคุม
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์โรคติดต่ออุบัติใหม่ของ เครือข่ายสุขภาพอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด วิธีการดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์การประชาสัมพันธ์โรคติดต่ออุบัติใหม่ โดยการทบทวนวรรณกรรม ศึกษาขั้นตอนการรับข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคติดต่ออุบัติใหม่ของเครือข่ายสุขภาพ ได้แก่ผู้ใหญ่บ้าน/ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้ประกาศข่าวประจำหมู่บ้าน โดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก 9 คน ประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน 1 คน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและทำหน้าที่เป็น อสม. จำนวน 2 คน แพทย์ประจำตำบล 1 คน อสม. 2 คน บุคลากรทางสาธารณสุข 1 คน ประชาชน 2 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์ ผู้วิจัยร่างรูปแบบโดยใช้ข้อมูลจากระยะที่ 1 ใช้ในการนำสนทนากลุ่มสมาชิกเครือข่าย จำนวน 14 คน จนได้รูปแบบที่สมาชิกเห็นพ้อง ระยะที่ 3 นำรูปแบบที่ได้ไปทดลองใช้ 6 สัปดาห์ ประเมินและปรับปรุงรูปแบบโดยการสนทนากลุ่มสมาชิกเครือข่าย นำรูปแบบที่ปรับปรุงมาทดลองใช้อีก 6 สัปดาห์ รวมเวลาที่ทดลองใช้ 12 สัปดาห์ ประเมินการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนในเครือข่ายเสลภูมิ จำนวน 80 คน ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ สถิต The Wilcoxon Signed- Ranks Test ผลการวิจัย ระยะที่ 1_พบประเด็นสำคัญของการประชาสัมพันธ์ 6 ประเด็น ได้แก่ 1) ข้อมูลเรื่องเดียวกันถูกส่งให้ประชาสัมพันธ์ในชุมชนโดยหน่วยราชการหลายหน่วยงาน 2) การประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้านสุขภาพส่วนใหญ่ใช้การสื่อสารทางเดียวทำให้ประชาชนขาดการมีส่วนร่วม 3) ข้อมูลที่ได้รับจากหน่วยราชการมักใช้ภาษาที่ประชาชนเข้าใจยาก และขาดรายละเอียดในการนำไปปฎิบัติ 4) ผู้นำชุมชนซึ่งมิใช่บุคลากรทางสาธารณสุขโดยตรง มีปัญหาในเนื้อหาข่าวสารที่ส่งต่อ 5) ผู้นำชุมชน/อาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน ต้องการ “ตัวช่วย” ในการถ่ายทอดความรู้สู่ประชาชน และ 6) ประสบการณ์และความสามารถส่วนบุคคลเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของการประชาสัมพันธ์ในระดับชุมชน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์ โดยกำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบแก่สมาชิกเครือข่ายสุขภาพร่วมกัน และปรับปรุงการประชาสัมพันธ์ใน 4 ด้าน คือ ด้านผู้ส่งสาร ด้านเนื้อหาข่าวสาร ด้านช่องทาง และด้านผู้รับสาร ระยะที่ 3 รูปแบบที่พัฒนาขึ้นคือ 1) บุคลากรหน่วยประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลเสลภูมิ เข้าเป็นผู้ประสานงานในการประชาสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายสุขภาพทั้งหมด 2) มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกเครือข่ายสุขภาพ ในการประชาสัมพันธ์โรคอุบัติใหม่ 3) ปรับปรุงการประชาสัมพันธ์ทั้ง 4 ด้าน คือ ผู้ส่งสาร เนื้อหาข่าวสาร ช่องทางการประชาสัมพันธ์และผู้รับสาร ผลการประเมินการใช้รูปแบบ พบว่าการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพของประชาชนหลังจากทดลองใช้รูปแบบพบว่า สูงขึ้นกว่าก่อนการนำรูปแบบไปใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2151
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib142790.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons