กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2160
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาศูนย์ข้าวชุมชน อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Community rice center development in Manorom District, Chainat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
อังคณา สุวานิช, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ศูนย์ข้าวชุมชน--ไทย--ชัยนาท--การบริหาร.
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชน (2) การดาเนินงานของศูนย์ข้าวชุมชน (3) สภาพการผลิต สถานภาพการเป็นสมาชิก การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความพึงพอใจ และความต้องการของสมาชิกต่อการดำเนินงานของศูนย์ข้าวชุมชน (4) ปัจจัยในการดำเนินงานและแนวทางการพัฒนาศูนย์ข้าวชุมชน (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาศูนย์ข้าวชุมชนอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 51.99 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบชั้นประถมศึกษา แรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 2.29 คน ไม่มีสถานะทางสังคม ทาการเกษตรเป็นอาชีพหลัก อาชีพรองคือรับจ้างทั่วไป ประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 28 ปี พื้นที่ถือครองเฉลี่ย 45 ไร่ ส่วนใหญ่กู้ยืมเงินจากสหกรณ์การเกษตร ใน 1 ปี ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 75.33 ตัน ราคาเมล็ดพันธุ์ข้าวต่อกิโลกรัมเฉลี่ย 14.83 บาท จำนวนผู้ผลิตแปลงพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 12.33 คน ผลิตข้าวพันธุ์กข. 31 ทั้ง 3 กลุ่ม มีการตรวจสอบการตัดพันธุ์ปนและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ไม่มีลานตากข้าว คัดเลือกคณะกรรมการศูนย์ข้าวโดยการเลือกตั้ง วาระ 2 ปี มีการบริหารจัดการศูนย์ การประชาสัมพันธ์ มีการซื้อและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ อบรมถ่ายทอดความรู้ กำหนดแผนการดำเนินงาน กำหนดวัตถุประสงค์ ไม่มีกองทุนกู้ยืม รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากเจ้าหน้าที่รัฐ มีความพึงพอใจสภาพการดำเนินงานด้านการซื้อและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ และด้านกรรมการและผู้นำ กิจกรรมที่ต้องการคือการอบรมถ่ายทอดความรู้ ด้านปัจจัยภายใน เช่น ผู้นำ สมาชิก การบริหารศูนย์ข้าวชุมชน ทรัพยากรและเงินทุน กิจกรรมการผลิต ส่วนปัจจัยภายนอก เช่น การดำเนินการของภาครัฐ เจ้าหน้าที่ สภาพพื้นที่ แนวทางการพัฒนา สมาชิกต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มีการวางแผนการดาเนินงานร่วมกัน ระบบตรวจสอบควบคุมการผลิตให้มีคุณภาพดี มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มศูนย์ข้าวฯ การประสานงานกับหน่วยงานของภาครัฐในเรื่องความรู้และการสนับสนุนด้านงบประมาณ ปัจจัยการผลิตอย่างต่อเนื่อง การวางแผนดำเนินธุรกิจเพื่อต่อยอดกิจกรรมการผลิตในกลุ่ม ปัญหาคือ สมาชิกไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการผลิตเมล็ดพันธุ์ กลุ่มไม่มีแผนการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะคณะกรรมการควรให้คาแนะนำและวางแผนการดำเนินงานทุกขั้นตอน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2160
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
135269.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons