Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2169
Title: การใช้ปุ๋ยในการผลิตข้าวของเกษตรกรในอำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี
Other Titles: An application of fertilizers in rice production of farmers in Nong-Ya-Sai District, Suphanburi Province
Authors: ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ต้องตา บัวเขียว, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ปุ๋ย
ข้าว--การผลิต
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) การใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตข้าวของเกษตรกร และ (3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตข้าวของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 53.21 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการผลิตข้าวเฉลี่ย 30.19 ปี มีประสบการณ์ในการใช้ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 19.06 ปี ผลิตข้าวเฉลี่ยปีละ 2.00 ครั้ง ได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยเคมีจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ในปี 2555 มีการเข้ารับฟังการบรรยายหรืออบรมเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 1.64 ครั้ง และส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีแรงงานในการผลิตข้าวเฉลี่ย 1.98 ราย มีพื้นที่ผลิตข้าวนาปรังและนาปีเฉลี่ย 15.22 และ 18.75 ไร่ มีรายได้ในการผลิตข้าวนาปรังและนาปีเฉลี่ย 11,074.02 และ 10,907.72 บาทต่อไร่ มีรายจ่ายในการผลิตข้าวนาปรังและนาปีเฉลี่ย 4,551.94 และ 4,181.77 บาทต่อไร่ (2) มากกว่าครึ่งใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่ไม่เก็บตัวอย่างดินตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช เกษตรกรทั้งหมดไม่ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและไม่ใส่ปุ๋ยตามโปรแกรมคำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง โดยใส่ปุ๋ยเคมีตลอดฤดูกาลผลิตเฉลี่ย 2.96 ครั้ง เกษตรกรใส่ปุ๋ยตรงกับระยะเวลาในการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ระยะข้าวแตกกอ (ข้าวอายุ 25-30 วัน) และครั้งที่ 2 ระยะกำเนิดช่อดอก (ก่อนข้าวสุกแก่ 65-75 วัน) ส่วนใหญ่ปฏิบัติถูกต้องในเรื่องของวิธีการใส่ปุ๋ยเคมี ส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 21-25 กิโลกรัมต่อไร่ ในครั้งที่ 1 สูตร 46-0-0+16-20-0 อัตรา 21-25 กิโลกรัมต่อไร่ ในครั้งที่ 2 และสูตรอื่นๆ (16-12-8 46-0-0+16-12-8) อัตรา 21-30 กิโลกรัมต่อไร่ ในครั้งที่ 3 (3) เกษตรกรมีปัญหาคือ มีภารกิจอื่นมาก ขั้นตอนยุ่งยาก กลัวได้ผลผลิตน้อยลงถ้าใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและใส่ปุ๋ยตามโปรแกรมคาแนะนำ การจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง เก็บตัวอย่างดินไม่เป็น ไม่เข้าใจวิธีการใส่ปุ๋ยตามโปรแกรมคำแนะนาการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2169
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
135277.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.6 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons