กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2172
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกสำหรับหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of a clinical supervision model for head nurses at Bhumibol Adulyadej Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุทธีพร มูลศาสตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพิศ ประสพศิลป์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นุชจรีย์ ชุมพินิจ, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
พยาบาล -- การฝึกอบรมในงาน
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพี่อ 1) พัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกสำหรับ หัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช 2) เปีรยบเทียบความรู้และความพึงพอใจของหัวหน้า หอผู้ป่วยก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิก 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจของ พยาบาลวิชาชีพ ผู้รับการนิเทศก่อนและหลังได้รับการนิเทศโดยใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิก วิธีดำเนินการศึกษามี 5 ขั้นตอน คือ 1) สังเคราะห์สภาพการณ์การนิเทศทางคลินิก 2) ออกแบบรูปแบบการนิเทศทางคลินิก 3) ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิก 4) ประเมินผล การใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิก และ 5) สรุปและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศทางคลินิก โดยมี กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ หัวหน้าหอผู้ป่วย และพยาบาลวิชาชีพผู้รับการนิเทศ กลุ่มละ 22 คนที่ถูก คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในงานวิจัยประกอบด้วย 1) แนวคำถามในการระดมสมอง 2) คู่มือ การใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิก 3) แบบสอบถามความรู้และความพึงพอใจของหัวหน้าหอผู้ป่วย ทั้งสองส่วนมีดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) เท่ากันคือ .90 และมีค่าความเที่ยง K.R-20 และ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ครอนบาค เท่ากับ .74 และ .94 ตามลำดับ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของพยาบาลวิชาชีพผู้รับการนิเทศ มีดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (CVD0.84 และมีค่าความเที่ยง สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ครอนบาค เท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการนิเทศทางคลินิกตามแนวคิดของพรอคเตอร์ ประกอบด้วย การนิเทศเพี่อสร้างการเรียนรู้ การนิเทศเพี่อสนับสนุนเชิงวิชาชีพ และการนิเทศเพี่อปฏิบัติงานตาม มาตรฐาน 2) ความรู้เกี่ยวกับการนิเทศทางคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วยก่อนและหลังการใช้รูปแบบ การนิเทศทางคลินิกไม่แตกต่างกัน แต่ความพึงพอใจของหัวหน้าหอผู้ป่วยและของพยาบาลวิชาชีพ ผู้รับการนิเทศหลังการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกดีกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2172
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib144792.pdfเอกสารฉบับเต็ม30.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons