กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2174
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการบริโภคของแรงงานไร้ฝีมือในภาคอุตสาหกรรมในอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Consumption behavior of unskill labour in industrail sector in Mueana district, Narathiwat province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริพร สัจจานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อารีย์ การธิโร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--นราธิวาส
แรงงานไม่มีฝีมือ--ไทย--นราธิวาส
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับ พฤติกรรมการบริโภค 2) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นแรงงานไร้ฟิมือในภาคอุตสาหกรรม 5 ประเภท ที่มี สัดส่วนการจ้างแรงงานไร้ฝีมือ ในอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส จำนวน 120 ตัวอย่าง ใช้ข้อมูลปฐม ภูมิที่ได้เก็บรวบรวมจากแบบสอบถาม และใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่ได้ศึกษาจากหนังสือ วารสาร บทความ สิ่งพิมพ์ และเอกสารงานวิจัยต่าง ๆ ทดสอบนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ a = 0.05 วิเคราะห์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ประกอบด้วยตัวแปร จำนวน การหาค่าร้อยละ และ สถิติเชิงปริมาณ วิเคราะห์สมการถดถอย Regression Analysis ด้วยวิธี Ordinary Least Square (OLS) ผลการศึกษาพบว่า 1) รายได้มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับการบริโภค นั่นคือ ถ้า แรงงานไร้ฝีมือมีรายได้เพิ่มขึ้นก็จะมีการบริโภคเพิ่มขึ้น 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการ บริโภค มี 2 ปัจจัย คือปัจจัยรายได้ (¥4) และปัจจัยขนาดครัวเรือน (Size) โดยปัจจัยทั้งสองมี ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ a = 0.05 และมีค่าสัมประสิทธิ์เป็นบวก นั่นคือ รายได้ (¥4) และ ขนาดครัวเรือน (Size) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภค แสดงว่า พฤติกรรมการ บริโภคของแรงงานไร้ฝีมือที่มีรายได้มากจะมีพฤติกรรมการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคมากกว่าแรงงานที่ มีรายได้น้อย และพฤติกรรมการบริโภคของแรงงานไรัฝีมือที่มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนมาก จะมี ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคมากกว่าผู้ที่มีสมาชิกในครัวเรือนน้อยกว่า สำหรับปัจจัยที่ศึกษาอีก 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยเพศ (Sex) ปัจจัยอายุ (Age) และปัจจัยสถานภาพสมรส (St) พบว่าไม่มีระดับนัยสำคัญ ทางสถิติ หรือ ไม่มีอิทธิพลต่อการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของแรงงานไร้ฝีมือ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2174
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
118946.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons