กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2178
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์มูลค่าที่ไม่ได้เกิดจากการใช้ กรณีศึกษา โครงการอนุรักษ์กระทิงในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Analysis of non-use value of guar in Kuiburi National Park, Prachuap Khiri Khan Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์ อัมพร ขยายวงค์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การประเมินราคาทรัพย์สิน การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่าย เพื่อการอนุรักษ์กระทิงในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี โดยใช้วิธีสมมติเหตุการณ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์กระทิง เพื่อสอบถามว่าผู้ให้สัมภาษณ์เต็มใจจะจ่ายหรือไม่ และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจที่จะจ่าย เพื่อการอนุรักษ์กระทิงในอุทยานฯ การทำการวิจัยใช้วิธีสมมติเหตุการณ์ให้ประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่าย โดยใช้คำถาม Single Bound Dichotomous Choice กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชากรในอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 150 ราย ซึ่งเก็บข้อมูลโดยการสุ่มสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ตามราคาที่สอบถามความเต็มใจที่จะจ่าย (bid price) และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีสมการถดถอยโลจิตผลการวิจัยพบว่า 1) ร้อยละของผู้ที่ตอบว่าเต็มใจที่จะจ่ายจะสูงเมื่อราคาที่ให้จ่ายตํ่า และจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อราคาที่จะให้จ่ายสูงขึ้น 2) ความเต็มใจที่จะจ่ายเฉลี่ยเท่ากับ 514.75 บาท ต่อครัวเรือน 3) ถ้านำมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายมาคูณกับมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเฉลี่ยมาร้อยละ 30 ของจำนวนครัวเรือนในอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นสัดส่วนของจำนวนผู้ที่ตอบว่าจะเต็มใจที่จะจ่าย ณ ระดับราคา 500 บาท ต่อครัวเรือน ก็จะได้มูลค่าที่สามารถระดมทุน ได้ 5,787,076.88 บาท สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจว่าจะเต็มใจจ่ายหรือไม่ มีสอง ตัวแปร ตัวแปรแรก คือ ราคา ซึ่งมีนัยความสำคัญทางสถิติ ณ ความเชื่อมั่น ร้อยละ 99 และโดย มีเครื่องหมายค่าสัมประสิทธิเป็นลบ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานว่า โอกาสที่ผู้ให้สัมภาษณ์ที่เต็มใจจ่ายจะน้อยลง ถ้าราคาที่ต้องการให้จ่ายสูงขึ้น อีกตัวแปรหนึ่งที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 คือ รายได้ ซึ่งเครื่องหมายของค่า สัมประสิทธิ์ที่เป็นบวกก็สอดคล้อง กับสมมติฐานเช่นเดียวกันมีความหมายว่าผู้ให้สัมภาษณ์ที่มีรายได้สูงจะมีโอกาสที่จะตอบว่าเต็มใจที่จะจ่ายมากว่าผู้ที่ให้สัมภาษณ์ที่มีรายได้น้อย |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2178 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
156626.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.72 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License