Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2185
Title: การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกแหล่งที่ตั้งของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในจังหวัดสระบุรี
Other Titles: Analysis of factors effecting to industrial location in Saraburi province
Authors: สุภาสินี ตันติศรีสุข
อโนรัตน์ หวานนุรักษ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
อุตสาหกรรม--สถานที่ตั้ง--ไทย--สระบุรี
Issue Date: 2547
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: จากแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยรัฐบาลให้การส่งเสริมการผลิตและการลงทุนของภาคเอกชน ส่งผลให้เกิดการลงทุนในส่วนกลางและภูมิภาคมากขึ้น จากอดีตที่ผ่านมาอุตสาหกรรมจำนวนมากตั้งอยู่ในเขตภาคกลาง และจังหวัดสระบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการประกอบการอุตสาหกรรมหลากหลายและมีแนวโน้มการตั้งโรงงานเพิ่มมากขึ้น วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อศึกษาโครงสร้างทั่วไปของอุตสาหกรรมในจังหวัดสระบุรี ศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกแหล่งที่ตั้งอุตสาหกรรมในจังหวัดสระบุรี และศึกษาถึงปัญหาที่เกิดจากการประกอบการและการเลือกแหล่งที่ตั้งอุตสาหกรรมในจังหวัดสระบุรี โดยการใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง การศึกษาได้แบ่งอุตสาหกรรมออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1. อุตสาหกรรมเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร กลุ่มที่ 2. อุตสาหกรรมเบา กลุ่มที่ 3. อุตสาหกรรมหนัก และกลุ่มที่ 4. อุตสาหกรรมการบริการและสาธารณูปโภค ผลการศึกษาพบว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดสระบุรี ส่วนใหญ่ประกอบกิจการในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด รองลงมาได้แก่ บริษัทจำกัด ธุรกิจครอบครัว และกิจการเจ้าของคนเดียว ตามลำดับ ส่วนขนาดการลงทุนและการจ้างงานของอุตสาหกรรมในจังหวัดสระบุรีแตกต่างกันไปตามประเภทของอุตสาหกรรมคือ กลุ่มที่ 1. มีการลงทุนขนาดเล็ก จำนวนแรงงานน้อย กลุ่มที่ 2. การลงทุนขนาดใหญ่ จำนวนแรงงานมาก กลุ่มที่ 3. การลงทุนขนาดใหญ่ จำนวนแรงงานมากกว่าทุกอุตสาหกรรม และ กลุ่มที่ 4. การลงทุนขนาดกลาง จำนวนแรงงานน้อย ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกแหล่งที่ตั้งอุตสาหกรรมในจังหวัดสระบุรี ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกลุ่มตัวอย่างได้เลือกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกแหล่งที่ตั้งดังนี้ กลุ่มที่ 1. คือ ค่าจ้างแรงงาน กลุ่มที่ 2. คือการได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาล กลุ่มที่ 3. คือ ราคาที่ดิน และกลุ่มที่ 4. คือ โครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจากผลการศึกษาดังกล่าวนำไปสู่ข้อเสนอแนะดังนี้ สำหรับภาครัฐควรมีการจัดการพื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรมอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันปัญหาการใช้พื้นที่อุตสาหกรรมรุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรม และป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และควรมีการกระจายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้ทั่วถึง
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2185
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
85160.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.89 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons