กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2188
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับตัวแปรทางการเงิน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between economic growth and financial variables
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พอพันธ์ อุยยานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กัญญามาศ ปัญญา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
การเงิน--ไทย
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาพรวมการเคลื่อนไหวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและตัวแปรทางการเงิน ได้แก่ ปริมาณเงินในความหมายกว้าง อัตราดอกเบี้ยนโยบาย และดัชนีราคาผู้บริโภค 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศกับตัวแปรทางการเงินดังกล่าว การศึกษานี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิอนุกรมเวลารายไตรมาสตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2545 ถึงไตรมาสที่ 4 พ.ศ. 2555 รวมข้อมูลทั้งหมด 44 ไตรมาส โดยใช้แบบจำลอง Vector Auto Regressive (VAR) การศึกษานี้ใช้เครื่องมือทางเศรษฐมิติในการทดสอบความนิ่งของข้อมูล การทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยาว โดยวิธี Johansen (1988) และการทดสอบความเป็นเหตุเป็นผล ผลการศึกษาพบว่า 1) การเคลื่อนไหวของตัวแปรที่นำมาศึกษา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ปริมาณเงินในความหมายกว้าง และดัชนีราคาผู้บริโภคมีทิศทางการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีทิศทางการปรับตัวตามการใช้นโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย 2) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและตัวแปรทางการเงินที่นำมาศึกษาทั้งหมดมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว นอกจากนี้การทดสอบความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างตัวแปรทีละคู่ พบว่าดัชนีราคาผู้บริโภคที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษานี้ อย่างไรก็ตามกลับไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับตัวแปรทางการเงิน คือ ปริมาณเงินในความหมายกว้าง อัตราดอกเบี้ยนโยบาย และดัชนีราคาผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากในทางทฤษฎีแม้ตัวแปรทางการเงินจะส่งผลต่อการการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่บ้าง แต่เป็นการส่งผ่านตัวแปรไปยังภาคเศรษฐกิจจริง และเชื่อมโยงไปที่การเติบโตทางเศรษฐกิจอีกทีหนึ่ง ซึ่งผลดังกล่าวไม่ชัดเจนนัก ดังนั้นนโยบายการเงินจึงควรให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากกว่าเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2188
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
140176.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons