Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2190
Title: การวิเคราะห์แนวโน้มการส่งออกปลาสดแช่เย็นแช่แข็งของไทย
Other Titles: An export trending analysis of Thai chilled and frozen fresh fishes
Authors: ศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จารุณี นพเสา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ปลาแช่แข็ง--การส่งออก
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ทั่วไปของการผลิต การนำเข้าและส่งออกปลาสดแช่เย็นแช่แข็งของโลก 2) ศึกษาสถานการณ์ทั่วไปของการผลิต การนำเข้าและส่งออกปลาสดแช่เย็นแช่แข็งของไทย 3) วิเคราะห์แนวโน้มมูลค่าการส่งออกปลาสดแช่เย็นแช่แข็งของไทย และ 4) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของธุรกิจส่งออกปลาสดแช่เย็นแช่แข็งของไทย วิธีการศึกษาได้รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิอนุกรมเวลารายไตรมาสของการส่งออกปลาสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยและของโลกในช่วงปี 2546-2555 ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาด้วยสถิติอย่างง่าย เช่น การหาค่าร้อยละ มีการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตาราง และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยวิธีการวิเคราะห์แนวโน้มโดยมีขอบเขตการศึกษาในช่วงปี 2556-2560 ผลการวิจัยพบว่า 1) ปริมาณการจับและเพาะเลี้ยง มูลค่าการนำเข้าและส่งออกปลาสดแช่เย็นแช่แข็งของโลกมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการที่ส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงปลาเพิ่มขึ้นประกอบกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมประมงในอินเดียช่วงปี 2554-2555 2) ปริมาณการจับและเพาะเลี้ยงปลาของไทยลดลงเนื่องจากปรากฏการณ์เอลนิโญและการสูญเสียระบบนิเวศน์ที่เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงปลาตลอดจนต้นทุนการเพาะเลี้ยงที่สูงขึ้นมีผลทำให้มูลค่านำเข้าปลาสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยเพิ่มขึ้นตลอด10 ปีที่ผ่านมา(ปี 2546-2555) เพื่อทดแทนการเพาะเลี้ยงที่ลดลงแต่มูลค่าส่งออกปลาสดแช่เย็นแช่แข็งมีลักษณะที่เพิ่มขึ้นและลดลงเป็นช่วงๆ โดยช่วงปี 2546-2551 มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นแต่ช่วงปี 2552-2555 มีมูลค่าลดลงเนื่องจากมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น 3) แนวโน้มมูลค่าการส่งออกปลาสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยในช่วงปี. 2556-2560 มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาดหลักและมาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ ที่ไทยเผชิญในแต่ละตลาดโดยพบว่า ปี 2556 ลดลงร้อยละ 8.34 ปี 2557 ลดลงร้อยละ 2.6 ปี 2558 ลดลงร้อยละ 4.01 ปี 2559 ลดลงร้อยละ 5.62 และปี 2560 ลดลงร้อยละ 7.54 และ 4) จุดแข็ง คือ อยู่ใกล้แหล่งทำการประมงทั้งมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก คุณภาพสินค้าไทยเป็นที่ยอมรับในตลาดโลกตลอดจนรัฐบาลไทยมีนโยบายสนับสนุนและมีการรวมกลุ่มผู้ผลิตเพื่อให้ความรู้ และช่วยเหลือกับสมาชิก จุดอ่อน คือ ภาวะขาดแคลนวัตถุดิบและแรงงาน การเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ปัญหาการใช้แรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย ตลอดจนผู้ประกอบการส่งออกขาดข้อมูลการตลาดและกฎระเบียบ โอกาส คือ ตลาดส่งออกหลักของไทยยังคงมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยเฉพาะตลาดจีน ญี่ปุ่นและอาเซียน และสินค้าประมงของไทยมีศักยภาพในการหาตลาดใหม่เพิ่มเติมได้ในอนาคต อุปสรรค คือ ประเทศผู้นำเข้าบางประเทศนำปัจจัยด้านสังคมศีลธรรมและสิ่งแวดล้อมมาใช้เป็นมาตรการกีดกันทางการค้า นโยบายของประเทศคู่ค้าและคู่แข่งภาวะเศรษฐกิจโลกและค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น การเกิดโรคระบาดต่างๆ ในปลารวมถึงต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2190
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
140172.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.35 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons