กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2206
ชื่อเรื่อง: การพยากรณ์ปริมาณการส่งออกข้าวไทยไปจีน ปี 2563 : กรณีศึกษาเชิงประจักษ์ด้วยวิธีการทางอนุกรมเวลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Forecasting the export quantity of Thai rice to China in 2020 : the empirical study using time series method
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมพล จตุพร
ธนาภรณ์ ผ่องศรี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
ข้าว--การส่งออก--พยากรณ์.--ไทย
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พยากรณ์ปริมาณส่งออกข้าวไทยไปยังประเทศจีน และ (2) ประเมินผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) การศึกษาใช้ข้อมูลอนุกรมเวลารายเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2543 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 รวมข้อมูล 244 เดือน โดยการพยากรณ์และประเมินผลกระทบได้ประยุกต์ใช้วิธีการของบ็อกซ์-เจนกินส์ หรือแบบจําลอง SARIMA ซึ่งมีเงื่อนไขว่า (1) การพยากรณ์เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 รวม 8 เดือน และ (2) การประเมินผลกระทบจากสถานการณ์โควิต-19 จะพยากรณ์ปริมาณส่งออกข้าวไทยไปจีน ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ภายใต้ข้อสมมติว่าปริมาณส่งออกข้าวไทยไปจีนไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 แล้วจึงเปรียบเทียบกับข้อมูลจริงเพื่อคำนวณเป็นปริมาณความสูญเสียจากสถานการณ์โควิด 19 ต่อไป ต่อปริมาณส่งออกข้าวไทยไปจีน ผลการศึกษาพบว่า (1) การส่งออกข้าวไทยไปจีนในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2563 มีแนวโน้มขยายตัวขึ้นร้อยละ 35.70 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และ (2) การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 สร้างความสูญเสียต่อการส่งออกข้าวไทยไปจีนเป็นปริมาณเท่ากับ 47,210 ตัน โดยตัวแบบพยากรณ์และประเมินผลกระทบ คือ แบบจําลอง SARIMA(2,0,4)(1,1,0)12.
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2206
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
165991.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons