กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/220
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฎหมายต่อการครอบครองสิ่งละเมิดลิขสิทธิ์เกินจำนวนที่เหมาะสม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal messures for mere possession of copyright infringement
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิมาน กฤตพลวิมาน
นิธิพัฒน์ แสงมณี, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ชูเกียรติ น้อยฉิม
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
การละเมิดลิขสิทธิ์
การคุ้มครองผู้บริโภค--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทฤษฎีและหลักกฎหมายที่นำมาใช้ในการกำหนดความผิด และบทกำหนดโทษต่อการครอบครองสิ่งละเมิดลิขสิทธิ์ ไว้นอกเหนือจากการใช้งานเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคลหรือภายในที่พักอาศัย ซึ่งมิได้มีวัตถุประสงค์ในทางการค้าหรือแสวงหาผลประโยชน์ในทางธุรกิจ หรือการครอบครองสิ่งละเมิดลิขสิทธิ์เกินจำนวนที่เหมาะสม (mere possession) (2) ศึกษาถึงข้อดี ข้อเสีย และผลกระทบในการกำหนดความผิด และบทกำหนดโทษต่อการครอบครองสิ่งละเมิดลิขสิทธิ์เกินจำนวนที่เหมาะสม ว่ามีความเหมาะสมกบสังคมไทยหรือไม่ (3) ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคของการกำหนดโทษอาญาต่อการครอบครองสิ่งละเมิดลิขสิทธิ์เกินจำนวนที่เหมาะสม ที่มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยในลักษณะต่างๆ (4) ศึกษาและเปรียบเทียบแนวทางในการกาหนดความผิดสำหรับผู้ครอบครองสิ่งละเมิดลิขสิทธิ์ รวมทั้งมาตรการบังคับสิทธิโดยใช้โทษอาญาต่อผู้ครอบครองสิ่งละเมิดลิขสิทธิ์ ในกฎหมายต่างประเทศ ว่ามีแนวทางและมาตรการอยางไร (5) ศึกษาหาแนวทางแกไขปัญหาที่เหมาะสม และแนวโน้มที่อาจจะเป็นไปได้ ในการนำบทกาหนดความผิดต่อการครอบครองสิ่งละเมิดลิขสิทธิ์เกินจำนวนที่เหมาะสมมาใช้ในประเทศไทย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยทำการศึกษาวิเคราะห์ แหล่งข้อมูลจากบทความ ตำรา วิทยานิพนธ์ เวปไซต์และงานวิจัยทางวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวกบการกำหนด ความผิดสำหรับการครอบครองสิ่งละเมิดลิขสิทธิ์เกินจำนวนที่เหมาะสม (mere possession) ในกฎหมายต่างประเทศเช่น กฎหมายลิขสิทธิ์ มาเลเซีย ค.ศ.1987 หรือกฎหมายลิขสิทธิ์ สิงคโปร์ ค.ศ.1987 เป็นต้น หากนำมาใช้ในประเทศไทยจะส่งผลในการยกระดับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ให้สูงขึ้น หรือไม่อย่างไร และจะส่งผลกระทบต่อสาธารณชนในการใช้ประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์หรือไม่ พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไข ผลจากการวิจัยสรุปว่า การกำหนดความผิดสำหรับการครอบครองสิ่งละเมิดลิขสิทธิ์ เกินจำนวนที่เหมาะสม (mere possession) จะส่งผลในการยกระดับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ของไทยให้สูงขึ้น ช่วยลดจำนวนสิ่งละเมิดลิขสิทธิ์ ที่เกิดจากการครอบครองเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล หรือภายในที่พักอาศัยลง โดยไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิของสังคมที่จะใช้ประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ และมีความเหมาะสมที่จะนำมาบังคับใช้ในสังคมไทย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/220
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
134625.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons