Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2214
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorนันท์ฐิตา ศิริคุปต์-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2022-11-23T08:58:28Z-
dc.date.available2022-11-23T08:58:28Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2214-
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาทางเศรษฐกิจ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภูเก็ต และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนกับ อุปสงค์ในการเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต วิธีการศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิ แบบอนุกรมเวลา ระหว่างปี 2546 ถึงปี 2558 โดยแบ่งการศึกษา ออกเป็น 2 วิธี คือ 1) การวิเคราะห์เชิงพรรณาเป็นการศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพทั่วไปและการ ท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต 2) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ มวลรวมสาขาทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภูเก็ต ความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราแลกเปลี่ยนกับอุปสงค์ในการเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตโดยศึกษาเฉพาะสกุลเงินหยวน สกุลเงินรูเบิล และสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศที่มีจํานวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาจังหวัด ภูเก็ตมากที่สุดสามอันดับแรก ใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยและทําการประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยวิธีกำลังสอง น้อยที่สุด รวมถึงได้ทดสอบความคงที่ของข้อมูลอนุกรมเวลา จากผลการศึกษาพบว่า 1) จํานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติของจังหวัดภูเก็ต มีสัดส่วนมากกว่า จํานวนนักท่องเที่ยวชาวไทย และรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติสูงกว่ารายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทย โดย มีสัดส่วน 82:18 2) ผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว มี 3 สาขา ซึ่งมีผลต่อ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภูเก็ตอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้แก่ สาขาโรงแรมและภัตตาคาร สาขาบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการทางธุรกิจ และสาขาการขายส่ง การขายปลีก การ ซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน 3) จํานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติของ จังหวัดภูเก็ตมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ ความเชื่อมันร้อยละ 99 และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจํานวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติกับอัตราแลกเปลี่ยน พบว่าสกุลเงินหยวน และสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย มีความสัมพันธ์ในทิศทาง ตามสมมติฐาน คือถ้าเงินบาทอ่อน จํานวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้น ขณะที่เงินสกุลรูเบิล มีผลในทิศทางตรงกันข้าม กับสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่จํานวนนักท่องเที่ยวยังคงเพิ่มขึ้น และเมื่อทดสอบสมการ พบว่าอัตราแลกเปลี่ยนของเงิน ทั้ง 3 สกุลไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญ จึงเห็นได้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศไม่ใช่ปัจจัยที่ กำหนดการตัดสินใจมาเที่ยวที่จังหวัดภูเก็ต และรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติแต่มีปัจจัยอื่นที่มีความสําคัญ มากกว่าอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการท่องเที่ยว--แง่เศรษฐกิจ--ไทย--ภูเก็ตth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจth_TH
dc.subjectภูเก็ต--ภาวะเศรษฐกิจth_TH
dc.titleปัจจัยกำหนดภาวะเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตth_TH
dc.title.alternativeFactors determining Phuket's tourism economyth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is 1) to study changes of Gross Provincial Product in economic sector related to tourism with Gross Provincial Product of Phuket and 2) to study correlation between exchange rate and demand for travel to Phuket. The study was conducted by using secondary time series data between 2003 – 2015, and divided into two methods: 1) descriptive analysis: in order to study wide-ranging information related to the general conditions and tourism in Phuket, i.e. the number of tourists and tourism revenue of foreign and Thai tourists in Phuket 2) quantitative data analysis: in order to demonstrate the correlation of variables used to analyze the changes of Gross Provincial Product in economic sector related to tourism with Gross Provincial Product of Phuket and to analyze the correlation between exchange rate and the demand for travel to Phuket by studying Chinese Yuan Renminbi, Russian Ruble and Australian Dollar. These were the top three foreign currencies being used in Phuket via applying regression analysis and estimating parameters in ordinary least squares as well as testing for stationary in time series data through unit root test. The results of this study indicated that 1) the number of foreign tourists in Phuket was higher than that of Thai tourists and the tourism revenue from foreign tourists was greater than that of Thai tourists at the ratio of 82 : 18; 2) Gross Provincial Product in economic sectors related to tourism were in 3 areas affecting Gross Provincial Product of Phuket significantly at 95 percent level of confidence: hotels and restaurants, real estate, renting and business activities and wholesale and retail trade, repair of motor vehicles, motorcycles and personal and household goods 3) the number of foreign tourists in Phuket had the direct correlation with the revenue from foreign tourists significantly at the 99 percent level of confidence and the correlation analysis between the number of foreign tourists and the revenue from foreign tourists with the exchange rates showed that Chinese Yuan Renminbi and Australian Dollar had the correlation as assumed indicated that if Thai Baht depreciates, the number of tourists will increase. Russian Ruble, however, resulted in the opposite direction of the above indicated assumption, even though, the number of tourists increased. Also, after solving the equations test, the results pointed out that these 3 exchange rates were not significantly correlated. Hence, as demonstrated, the foreign exchange rate was not a factor determining demand for travel to Phuket and the revenue from foreign tourists, but there were other factors more important than the foreign exchange rateen_US
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
153573.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.03 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons