กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2214
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยกำหนดภาวะเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors determining Phuket's tourism economy
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นันท์ฐิตา ศิริคุปต์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การท่องเที่ยว--แง่เศรษฐกิจ--ไทย--ภูเก็ต
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
ภูเก็ต--ภาวะเศรษฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาทางเศรษฐกิจ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภูเก็ต และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนกับ อุปสงค์ในการเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต วิธีการศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิ แบบอนุกรมเวลา ระหว่างปี 2546 ถึงปี 2558 โดยแบ่งการศึกษา ออกเป็น 2 วิธี คือ 1) การวิเคราะห์เชิงพรรณาเป็นการศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพทั่วไปและการ ท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต 2) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ มวลรวมสาขาทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภูเก็ต ความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราแลกเปลี่ยนกับอุปสงค์ในการเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตโดยศึกษาเฉพาะสกุลเงินหยวน สกุลเงินรูเบิล และสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศที่มีจํานวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาจังหวัด ภูเก็ตมากที่สุดสามอันดับแรก ใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยและทําการประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยวิธีกำลังสอง น้อยที่สุด รวมถึงได้ทดสอบความคงที่ของข้อมูลอนุกรมเวลา จากผลการศึกษาพบว่า 1) จํานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติของจังหวัดภูเก็ต มีสัดส่วนมากกว่า จํานวนนักท่องเที่ยวชาวไทย และรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติสูงกว่ารายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทย โดย มีสัดส่วน 82:18 2) ผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว มี 3 สาขา ซึ่งมีผลต่อ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภูเก็ตอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้แก่ สาขาโรงแรมและภัตตาคาร สาขาบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการทางธุรกิจ และสาขาการขายส่ง การขายปลีก การ ซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน 3) จํานวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติของ จังหวัดภูเก็ตมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ ความเชื่อมันร้อยละ 99 และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจํานวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติกับอัตราแลกเปลี่ยน พบว่าสกุลเงินหยวน และสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย มีความสัมพันธ์ในทิศทาง ตามสมมติฐาน คือถ้าเงินบาทอ่อน จํานวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้น ขณะที่เงินสกุลรูเบิล มีผลในทิศทางตรงกันข้าม กับสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่จํานวนนักท่องเที่ยวยังคงเพิ่มขึ้น และเมื่อทดสอบสมการ พบว่าอัตราแลกเปลี่ยนของเงิน ทั้ง 3 สกุลไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญ จึงเห็นได้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศไม่ใช่ปัจจัยที่ กำหนดการตัดสินใจมาเที่ยวที่จังหวัดภูเก็ต และรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติแต่มีปัจจัยอื่นที่มีความสําคัญ มากกว่าอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2214
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
153573.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons