Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2215
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมนูญ โต๊ะยามา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorนันทนิตย์ ราชกิจ-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2022-11-24T02:23:19Z-
dc.date.available2022-11-24T02:23:19Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2215-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ และ 2) สรุปผลงานวิจัยที่สังเคราะห์ได้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประชากรที่ใช้ในการสังเคราะห์งานวิจัย คือ รายงานการวิจัย บทความวิจัยในรายงานวิชาการต่าง ๆ การศึกษาค้นคว้าอิสระ วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ และสารนิพนธ์ จากสถาบันอุดมศึกษา รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ที่มีการเผยแพร่ ระหว่างปี 2542 - 2559 กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 79 เรื่อง โดยการคัดเลือกงานวิจัยที่มี องค์ประกอบสอดคล้องกับแนวทางในการสังเคราะห์งานวิจัย การสังเคราะห์งานวิจัยทั้งเชิงปริมาณด้วยวิธีการ วิเคราะห์เชิงสถิติ และการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1) ในเชิงปริมาณ พบว่างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยประเภทรายงานการวิจัยหรือการศึกษาค้นคว้าอิสระ ด้านคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พื้นที่หรือภูมิภาคที่มีการทำวิจัยเป็นแบบภาพรวมทั้งประเทศไทย ในเชิงคุณภาพ พบว่าผลการวิจัยมีความคล้ายคลึงกัน คือ สวัสดิการของผู้สูงอายุที่ได้รับจากภาครัฐยังคงไม่เพียงพอ และผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มีการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ ทั้งนี้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอาจมีความแตกต่างกันบ้างตามลักษณะ ท้องถิ่นที่อยู่อาศัยและสังคมของผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตของตน แม้ สวัสดิการที่ได้รับจากภาครัฐจะไม่เพียงพอ และกิจกรรมในชุมชนมีส่วนช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น นอกจากนี้ ผลการศึกษายังชี้ว่าการแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นอยู่มักเน้นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุโดยปราศจาก การวางแผนป้องกัน และที่สำคัญคืองานด้านสวัสดิการผู้สูงอายุยังคงมีปัญหาอย่างต่อเนื่อง 2) ประโยชน์ที่ได้รับ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ การที่พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังคงมีความต้องการสวัสดิการ สังคม ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ข้อมูลที่ศึกษาเป็นแนวทางเบื้องต้นในการปรับปรุง พัฒนา และ วางแผนคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เช่น การจัดอบรมให้ความรู้ และสร้างอาชีพ/รายได้ให้แก่ผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ จัดกิจกรรมในชุมชนที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมอย่างทั่วถึง เป็นต้น ในด้านสวัสดิการสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการจ่ายเบี้ยยังชีพ หน่วยงานภาครัฐควรปรับกระบวนการ ทำงานให้มีความคล่องตัวมากขึ้น เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและมีการจ่ายเงินอย่างทั่วถึง ควรมีมาตรการกระจาย อำนาจสู่ส่วนงานท้องถิ่น และมีการตรวจสอบที่เป็นธรรมและรวดเร็ว นอกจากนี้ในการวิจัยด้านคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุในประเทศไทยควรมีการขยายพื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาให้มากขึ้นเพื่อนำมาซึ่งผลได้จากการสังเคราะห์การ วิจัยที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ชัดเจนต่อไปมากยิ่งขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิต--ไทยth_TH
dc.subjectวิจัย--การสังเคราะห์th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจth_TH
dc.titleการสังเคราะห์งานวิจัยคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุth_TH
dc.title.alternativeThe synthesis of research on the quality of elderly lifeth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to 1) synthesize the researches regarding the improvement of quality of elderly life, and 2) conclude the research findings in order to contribute for economic and social development. The population in the study comprise research reports, academic articles, independent studies, theses, and dissertations from higher education institutions as well as government agencies which were published during 1999 to 2016. Seventynight research works were selected as the samples basing on the consistency with synthesis objectives. The synthesis employed a quantitative method by using a statistical analysis together with a qualitative one by applying a content analysis. The study results are as follows: 1) In term of quantitative, most researches concerning the improvement of elderly life quality are independent studies, in relation to the quality of life and factors affecting the quality of elderly life, and being conducted in Thailand as overall country. In term of qualitative, there were some similarities that the welfare derived from government agencies was still not sufficient, most elders had prepared to enter their elderly lives. However, the quality of elderly life had some differences according to residential areas and societies of the elders. They were satisfied in their quality of life although welfares received from government were not enough. The community activities were able to improve the quality of elders’ lives. The results also indicated that the problem solution of the quality of elderly life were mainly focused at the end without the prevention. Importantly, the welfare of the elders were still had problems. 2) Regarding benefits contributing economic and social development, this study revealed that most elders need welfare. Therefore, the relevant agencies can use the information derived from the researches to improve, develop and plan the quality of elderly life such as providing the training, job creation, income enhancement for the elders in various fields, as well as organizing community activities to support the quality of elderly life together with advertisement thoroughly. The government agencies should improve working procedure about social welfare, especially the subsistence allowance payment, to be quick and more mobility. Also, decentralization measures, fast and fair inspection should be deployed. In addition, the research on the quality of elderly life in Thailand should be extended as covering more study areas in order to bring about more synthesis results which enable more benefits and clearnessen_US
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
157899.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.02 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons