กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2215
ชื่อเรื่อง: การสังเคราะห์งานวิจัยคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The synthesis of research on the quality of elderly life
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มนูญ โต๊ะยามา, อาจารย์ที่ปรึกษา
นันทนิตย์ ราชกิจ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้สูงอายุ
คุณภาพชีวิต--ไทย
วิจัย--การสังเคราะห์
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ และ 2) สรุปผลงานวิจัยที่สังเคราะห์ได้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประชากรที่ใช้ในการสังเคราะห์งานวิจัย คือ รายงานการวิจัย บทความวิจัยในรายงานวิชาการต่าง ๆ การศึกษาค้นคว้าอิสระ วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ และสารนิพนธ์ จากสถาบันอุดมศึกษา รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ที่มีการเผยแพร่ ระหว่างปี 2542 - 2559 กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 79 เรื่อง โดยการคัดเลือกงานวิจัยที่มี องค์ประกอบสอดคล้องกับแนวทางในการสังเคราะห์งานวิจัย การสังเคราะห์งานวิจัยทั้งเชิงปริมาณด้วยวิธีการ วิเคราะห์เชิงสถิติ และการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1) ในเชิงปริมาณ พบว่างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยประเภทรายงานการวิจัยหรือการศึกษาค้นคว้าอิสระ ด้านคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พื้นที่หรือภูมิภาคที่มีการทำวิจัยเป็นแบบภาพรวมทั้งประเทศไทย ในเชิงคุณภาพ พบว่าผลการวิจัยมีความคล้ายคลึงกัน คือ สวัสดิการของผู้สูงอายุที่ได้รับจากภาครัฐยังคงไม่เพียงพอ และผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มีการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ ทั้งนี้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอาจมีความแตกต่างกันบ้างตามลักษณะ ท้องถิ่นที่อยู่อาศัยและสังคมของผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตของตน แม้ สวัสดิการที่ได้รับจากภาครัฐจะไม่เพียงพอ และกิจกรรมในชุมชนมีส่วนช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น นอกจากนี้ ผลการศึกษายังชี้ว่าการแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นอยู่มักเน้นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุโดยปราศจาก การวางแผนป้องกัน และที่สำคัญคืองานด้านสวัสดิการผู้สูงอายุยังคงมีปัญหาอย่างต่อเนื่อง 2) ประโยชน์ที่ได้รับ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ การที่พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังคงมีความต้องการสวัสดิการ สังคม ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ข้อมูลที่ศึกษาเป็นแนวทางเบื้องต้นในการปรับปรุง พัฒนา และ วางแผนคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เช่น การจัดอบรมให้ความรู้ และสร้างอาชีพ/รายได้ให้แก่ผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ จัดกิจกรรมในชุมชนที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมอย่างทั่วถึง เป็นต้น ในด้านสวัสดิการสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการจ่ายเบี้ยยังชีพ หน่วยงานภาครัฐควรปรับกระบวนการ ทำงานให้มีความคล่องตัวมากขึ้น เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและมีการจ่ายเงินอย่างทั่วถึง ควรมีมาตรการกระจาย อำนาจสู่ส่วนงานท้องถิ่น และมีการตรวจสอบที่เป็นธรรมและรวดเร็ว นอกจากนี้ในการวิจัยด้านคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุในประเทศไทยควรมีการขยายพื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาให้มากขึ้นเพื่อนำมาซึ่งผลได้จากการสังเคราะห์การ วิจัยที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ชัดเจนต่อไปมากยิ่งขึ้น
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2215
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
157899.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons