Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2216
Title: การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อการดำเนินงานทางการเงินของสหกรณ์การเกษตร กรป.กลาง นพค.บุรีรัมย์ จำกัด จังหวัดบุรีรัมย์
Other Titles: The analysis of the environmental impacts to the financial management of cooperative Krp. medium Npk. Agriculture Cooperative Limited, Buriram Province
Authors: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศลีนา ครองธรรมศิริ, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตร กรป.กลาง นพค.บุรีรัมย์--การบริหาร
สหกรณ์การเกษตร--การเงิน
สหกรณ์การเกษตร--การบริหาร
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของสหกรณ์การเกษตร กรป.กลาง นพค. บุรีรัมย์ จำกัด จังหวัดบุรีรัมย์ (2) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อการ ดำเนินงานทางการเงินของสหกรณ์การเกษตร กรป.กลาง นพค. บุรีรัมย์ จำกัด จังหวัดบุรีรัมย์ (3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานทางการเงินของ สหกรณ์การเกษตร กรป.กลาง นพด. บุรีรัมย์ จำกัด วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากรายงานกิจการประจำปีของสหกรณ์ รายงานของผู้สอบบัญชี เอกสารทางวิชาการ และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้การวิเคราะห์งบการเงิน อัตราส่วนทางการเงินเปรียบเทียบกับอัตราส่วนมาตรฐานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า สภาพแวดล้อมภายนอกทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี มีผลต่อการดำเนินงานทางการเงินของสหกรณ์การเกษตร กรป.กลาง นพค. บุรีรัมย์ จํากัด คือ 1) ด้านการเมือง ผ่านนโยบายการพัฒนาพื้นที่ของจังหวัดบุรีรัมย์ และการขยายเครือข่ายคมนาคม ทำให้สมาชิกสหกรณ์บางส่วนขายทีดินทางการเกษตร และนำเงินที่ได้มาฝากไว้กับสหกรณ์ ทำให้สหกรณ์มีภาระดอกเบี้ยจ่ายสูง และต้องพยายามปรับตัวเพื่อบริหารการเงินให้เกิดผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 2) ด้านเศรษฐกิจ ปัจจุบันมีโครงสร้างที่เน้นการทำอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น เป็นโอกาสให้ธุรกิจปั้มน้ำมันของสหกรณ์ สามารถสร้างรายได้ให้แก่สหกรณ์ได้เพิ่มขึ้น แต่ที่ตั้งของสถานีบริการไม่เอื้ออำนวย ทำให้มีผลกำไร ไม่มากนัก 3) ด้านสังคม จำนวนประชากรหันมารับจ้างเพิ่มขึ้น และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนอกภาคการเกษตร ทําให้ความต้องการในสินค้าทางการเกษตรลดลง ส่งผลให้ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจําหน่ายของสหกรณ์ประสบผลขาดทุนอย่างต่อเนื่อง รูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป สมาชิกใช้รถยนต์มากขึ้น เอื้อให้ธุรกิจปั๊มน้ำมันของสหกรณ์มีรายได้เพิ่มขึ้น 4) ด้านเทคโนโลยี ยังไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานทางการเงินของสหกรณ์
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2216
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext-124065.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.25 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons