Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2217
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัฐวิชญญ์ จิวสวัสดิ์th_TH
dc.contributor.authorประภา หลงบิดาth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2022-11-24T02:54:42Z-
dc.date.available2022-11-24T02:54:42Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2217en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในภาคอุตสาหกรรมโรงสีข้าว จังหวัดกำแพงเพชร จากนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นตํ่า 300 บาท และ 2) การปรับตัวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในภาคอุตสาหกรรมโรงสีข้าว จังหวัดกำแพงเพชร จากนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นตํ่า 300 บาท การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นอย่างง่ายได้กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็น ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในอุตสาหกรรมโรงสีข้าว จังหวัดกำแพงเพชร จํานวน 44 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ต้นทุน ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ประกอบการมีการปรับอัตราค่าจ้าง 300 บาท สําหรับลูกจ้างไทย ร้อยละ 67.43 ของลูกจ้าง และไม่มีการปรับค่าจ้างดังกล่าวสําหรับลูกจ้างต่างด้าว ร้อยละ 24.09 และลูกจ้างไทยบางส่วน(ร้อยละ 8.48) ผู้ประกอบการ ร้อยละ 31.82 มีการปรับลดจํานวนลูกจ้าง โดยใช้วิธีประเมินผลการทํางานของลูกจ้างและให้ลูกจ้างต้องรับผิดชอบงานเพิ่มขึ้น หากมีการลาออกของลูกจ้างก็จะไม่รับลูกจ้างใหม่ทดแทนตําแหน่งงานเดิมและจะลดจํานวนลูกจ้างไทยทั้งหมด แม้ว่าผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบต่อต้นทุนค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นจาก 36 บาท เป็น 67.33 บาท ต่อข้าวสาร 100 กิโลกรัม แต่ต้นทุนรวมเฉลี่ยกับลดลงจาก 1,897.35 บาท เป็น 1,778.34 บาท ต่อข้าวสาร 100 กิโลกรัม เนื่องจากต้นทุนการผลิต ร้อยละ 89.55 เป็นค่าวัตถุดิบข้าวเปลือก ซึ่งมีราคาลดลง ขณะที่ต้นทุนค่าจ้างแรงงานมีเพียงร้อยละ 3.85 เท่านั้น 2) การปรับตัวของผู้ประกอบการพบว่า ผู้ประกอบการมี การปรับลดสวัสดิการต่างๆ ได้แก่ การลดการให้ที่อยู่อาศัย ลดค่าจ้างที่จ่ายให้พิเศษ ลดเงินโบนัสและค่าเบี้ยขยันเมื่อมีการปรับค่าจ้างขั้นตํ่า 300 บาท ให้กับลูกจ้าง ผู้ประกอบการได้มอบหมายงานให้กับลูกจ้างเพิ่มขึ้น และส่งลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานกับทางราชการเพื่อเพิ่มทักษะการปฏิบัติงาน มีการจ้างลูกจ้างต่างด้าวทดแทนลูกจ้างไทย เนื่องจากลูกจ้างต่างด้าวมีความเข้มแข็งและอดทนสูงกว่า ผู้ประกอบการยังมีการปรับต้นทุน การผลิตอื่น ได้แก่ การลดค่าใช้จ่ายในการจ้างนายหน้ารับซื้อข้าวเปลือก การใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ทดแทนแรงงานลูกจ้างมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยการหาแหล่งเงินกู้ที่มี อัตราดอกเบี้ยตํ่าth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectค่าจ้างขั้นต่ำ--ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นเป็น 300 บาท ต่อผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคอุตสาหกรรมโรงสีข้าว จังหวัดกำแพงเพชรth_TH
dc.title.alternativeImpact of 300 baht minimum wage towards the small and medium-sized entrepreneurs in the rice mills manufacturing sector in Kamphaeng Phet Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the study aimed to investigate: 1) the impact of the policy of adjusting the 300 Baht minimum wage on the Small and Medium-Sized Entrepreneurs in the rice mills manufacturing sector in Kamphaeng Phet province; and 2) the adaptation of the entrepreneurs resulting from the policy. This study was a survey research using the stratified simple random sampling for the 44 small and medium-sized enterprises in the rice mills manufacturing sector in KamphaengPhet province. The instruments consisted of questionnaire and interview forms. Percentage, mean, and cost analysis were applied in the data analysis.The results were as follows. 1) The entrepreneurs had applied the new minimum wage for Thai workers, 67.43 percent of total workers, and had not operated for foreign workers, 24.09 percent and some Thai workers, 8.48 percent. Thirty-one point eighty-two percents of the entrepreneurs had lowered their workers through the performance evaluation scheme, and increased workers’ responsibilities. If the workers were resigned, their existing jobs were not be replaced by the new workers, The firms planned to decline Thai workers while they designed to increase forign ones. Although the entrepreneurs had affected from on the upping wage from 36 Baht to 67.33 Baht per 100 kg.of rice, the firm’s average total costs had decreased from 1897.35 Baht to 1778.34 Baht per 100 kg. of rice. This was due to 89.55 percent of production costs were from the raw rice which it’s price was dropped while the worker costs represented only 3.85 percent. 2)The adaptation of the entrepreneurs included the reduction of welfares such as housing fund, wages paid to special allowance, bonus and the incentive payment.When the new minimum wage had been implemented in the firms, the entrepreneurs had assigned more tasks for their workers and sent them to attend the training programe provided by the government agencies in order to increase the performance skills. They also hired foreign workers to replace Thai workers as these workers showed higher strength and patience than Thai workers. Furthermore, the entrepreneurs had adjusted other production costs such as the reduction of the broker hiring cost for purchasing raw rice, as well as the replacement of machine and equipment for workers. Moreover, the entrepreneurs proposed the public sector to provide the sourses of low interest rates loans.en_US
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
140479.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.79 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons