Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2217
Title: | ผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นเป็น 300 บาท ต่อผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคอุตสาหกรรมโรงสีข้าว จังหวัดกำแพงเพชร |
Other Titles: | Impact of 300 baht minimum wage towards the small and medium-sized entrepreneurs in the rice mills manufacturing sector in Kamphaeng Phet Province |
Authors: | รัฐวิชญญ์ จิวสวัสดิ์ ประภา หลงบิดา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี ค่าจ้างขั้นต่ำ--ไทย การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในภาคอุตสาหกรรมโรงสีข้าว จังหวัดกำแพงเพชร จากนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นตํ่า 300 บาท และ 2) การปรับตัวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในภาคอุตสาหกรรมโรงสีข้าว จังหวัดกำแพงเพชร จากนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นตํ่า 300 บาท การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นอย่างง่ายได้กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็น ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในอุตสาหกรรมโรงสีข้าว จังหวัดกำแพงเพชร จํานวน 44 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ต้นทุน ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ประกอบการมีการปรับอัตราค่าจ้าง 300 บาท สําหรับลูกจ้างไทย ร้อยละ 67.43 ของลูกจ้าง และไม่มีการปรับค่าจ้างดังกล่าวสําหรับลูกจ้างต่างด้าว ร้อยละ 24.09 และลูกจ้างไทยบางส่วน(ร้อยละ 8.48) ผู้ประกอบการ ร้อยละ 31.82 มีการปรับลดจํานวนลูกจ้าง โดยใช้วิธีประเมินผลการทํางานของลูกจ้างและให้ลูกจ้างต้องรับผิดชอบงานเพิ่มขึ้น หากมีการลาออกของลูกจ้างก็จะไม่รับลูกจ้างใหม่ทดแทนตําแหน่งงานเดิมและจะลดจํานวนลูกจ้างไทยทั้งหมด แม้ว่าผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบต่อต้นทุนค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นจาก 36 บาท เป็น 67.33 บาท ต่อข้าวสาร 100 กิโลกรัม แต่ต้นทุนรวมเฉลี่ยกับลดลงจาก 1,897.35 บาท เป็น 1,778.34 บาท ต่อข้าวสาร 100 กิโลกรัม เนื่องจากต้นทุนการผลิต ร้อยละ 89.55 เป็นค่าวัตถุดิบข้าวเปลือก ซึ่งมีราคาลดลง ขณะที่ต้นทุนค่าจ้างแรงงานมีเพียงร้อยละ 3.85 เท่านั้น 2) การปรับตัวของผู้ประกอบการพบว่า ผู้ประกอบการมี การปรับลดสวัสดิการต่างๆ ได้แก่ การลดการให้ที่อยู่อาศัย ลดค่าจ้างที่จ่ายให้พิเศษ ลดเงินโบนัสและค่าเบี้ยขยันเมื่อมีการปรับค่าจ้างขั้นตํ่า 300 บาท ให้กับลูกจ้าง ผู้ประกอบการได้มอบหมายงานให้กับลูกจ้างเพิ่มขึ้น และส่งลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานกับทางราชการเพื่อเพิ่มทักษะการปฏิบัติงาน มีการจ้างลูกจ้างต่างด้าวทดแทนลูกจ้างไทย เนื่องจากลูกจ้างต่างด้าวมีความเข้มแข็งและอดทนสูงกว่า ผู้ประกอบการยังมีการปรับต้นทุน การผลิตอื่น ได้แก่ การลดค่าใช้จ่ายในการจ้างนายหน้ารับซื้อข้าวเปลือก การใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ทดแทนแรงงานลูกจ้างมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยการหาแหล่งเงินกู้ที่มี อัตราดอกเบี้ยตํ่า |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2217 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
140479.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License