กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2231
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินของการปลูกยางพาราในพื้นที่ตำบลท่าเรือ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฏร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Financial cost-benefit analysis of rubber cultivation in Tarua Sub-district, Banna Derm District, Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมบัติ พันธวิศิษฎ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัชรพงษ์ บุญนาม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ยางพารา--การปลูก--ต้นทุนและประสิทธิผล
ยางพารา--การปลูก--อัตราผลตอบแทน
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของ เกษตรกรเจ้าของสวนยางพารา 2) ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตและจําหน่ายยางพารา และ 3) วิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินและความคุ้มค่าของการลงทุนปลูกยางพารา การศึกษานี้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างจากเกษตรกรที่ปลูก ยางพาราและเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเงินแล้วจํานวน 100 ราย และข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นํามาวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุน โดยใช้เกณฑ์ในการตัดสินใจลงทุน ได้แก่ มูลค่า ปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายในของการลงทุนและอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา และมีที่ดินเป็นของตัวเอง ขนาด 11-20 ไร่ มีประสบการณ์ ในการปลูกยางพารามากกว่า 15 ปี 2) ผลตอบแทนสุทธิจากการผลิตและจําหน่ายยางพาราในระยะเวลาการศึกษา 20 ปี โดยแบ่งกลุ่มเกษตรกร ตัวอย่าง ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีสวนยางพาราขนาด 1-10 ไร่ 11-20 ไร่ 21-30 ไร่ และ 31 ไร่ ขึ้นไป พบว่าผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 255,862 บาท 260,736 บาท 262,033 บาท และ 264,321 บาท ตามลําดับ 3) ผลตอบแทนการลงทุนคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิต่อไร่ ณ อัตราคิดลดร้อยละ 7 เท่ากับ 83,796.58 บาท 86,486.97 บาท 87,086.80 บาท และ 88,417.97 บาท ตามลําดับ อัตราผลตอบแทนภายใน ของการลงทุน เท่ากับร้อยละ 31.70 33.39 33.62 และ 34.91 ตามลําดับ และอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อ ต้นทุน เท่ากับ 2.11 2.19 2.20 และ 2.25 ตามลําดับ ผลการวิเคราะห์ความอ่อนไหวภายใต้เงื่อนไขการ เปลี่ยนแปลงด้านรายรับ และต้นทุน 3 กรณีคือ กรณีรายรับลดลงร้อยละ 10 กรณีต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และกรณีรายรับลดลงและต้นทุนเพิ่มขึ้นพร้อมกันร้อยละ 10 พบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ มีค่าเป็นบวก ผลตอบแทนภายในของการลงทุน มีค่าสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนด และอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อ ต้นทุน มีค่ามากกว่าหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า การลงทุนปลูกยางพาราระยะโครงการ 20 ปี มีความคุ้มค่าในการ ลงทุน และมีความเสี่ยงในระดับตํ่า
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2231
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
153303.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons