กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2237
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนและดุลการค้าภายใต้เงื่อนไขของมาร์แชลล์-เลอร์เนอร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between exchange rates and trade balance under Marshall-Lerner Condition
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิญญา วนเศรษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิวนนท์ เลียบศิรินนท์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
อัตราแลกเปลี่ยน
ดุลการค้า
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราแลกเปลี่ยนและ ดุลการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขของมาร์แชลล์-เลอร์เนอร์ 2) วิเคราะห์เปรียบเทียบผลการศึกษาเชิงประจักษ์ระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลัง พัฒนาสำหรับการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) การศึกษาเชิงพรรณนา 2) การวิเคราะห์ เชิงปริมาณเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนและดุลการค้าภายใต้เงื่อนไขของ มาร์แชลล์-เลอร์เนอร์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศคู่ค้า ประเทศต่างๆ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น อังกฤษ เยอรมนี เกาหลีใต้ อินเดีย อินโดนีเซีย รัสเซีย ไทย และแอฟริกาใต้โดย ใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายไตรมาส ช่วง พ.ศ. 2543-2556 ผลการศึกษาพบว่า 1) อัตราแลกเปลี่ยนและดุลการค้ามีความสัมพันธ์กันภายใต้เงื่อนไข ของมาร์แชลล์-เลอร์เนอร์เพียง 3 ประเทศ ได้แก่ แคนาดา รัสเซีย และไทย ซึ่งผลรวมค่าสัมบูรณ์ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์สินค้านำเข้าและอุปสงค์สินค้าส่งออกมีค่ามากกว่า 1 โดยมีค่าเท่ากับ 1.313581, 3.673422และ1.294747 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ตามลำดับ ส่วนประเทศอื่นๆ ได้แก่ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อังกฤษ เยอรมนี เกาหลีใต้ อินเดีย อินโดนีเซีย และแอฟริกาใต้ผลรวมค่า สมบูรณ์ความยืดหยุ่นของอุปสงค์สินค้านำเข้าและอุปสงค์สินค้าส่งออกมีค่าน้อยกว่า 1 2) เมื่อ เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนและดุลการค้าภายใต้เงื่อนไขของมาร์แชลล์- เลอร์เนอร์ ในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา พบว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่าง ประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา แต่ขึ้นอยู่กับลักษณะความยืดหยุ่นของอุปสงค์สินค้า นำเข้าและอุปสงค์สินค้าส่งออกในแต่ละประเทศเป็นสำคัญ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2237
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
140812.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons