Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/224
Title: | ความรับผิดของผู้ค้ำประกันในสัญญาสำเร็จรูป |
Other Titles: | The liability of guarantors in the standard contracts |
Authors: | มาลี สุรเชษฐ ปรียชาต การปลื้มจิตต์, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สิริพันธ์ พลรบ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์--ค้ำประกัน |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการค้ำประกันในสัญญาสําเร็จรูป 2) เพื่อศึกษาถึงปัญหาและผลของกฎหมายคํ้าประกัน กรณีสัญญาสําเร็จรูปที่มีอยูในปัจจุบัน 3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและผลของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ 4) เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายไทย ให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม สอดคล้องกับนานาประเทศ วิทยานิพนธ์เรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นวิจัยเอกสาร โดยการศึกษาค้นคว้า จากตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตํารา หนังสือ บทความทางวิชาการ แนวคําพิพากษาศาลฎีกา รวมทั้งการศึกษาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยรวบรวมและเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่า 1) สัญญาคํ้าประกน คือสัญญาที่บุคคลภายนอกผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ ชําระหนี้แทนลูกหนี้ ถ้าลูกหนี้ไม่ชําระหนี้ซึ่งกฎหมายที่ดี ยอมคุ้มครองผู้ค้ำประกันให้ได้รับความเป็นธรรมด้วย โดยเฉพาะในสัญญาสําเร็จรูป 2) กฎหมายต่างประเทศมีการคุ้มครองผู้คํ้าประกันสัญญาสําเร็จรูปโดย นําแนวคิดเรื่องการชําระหนี้ที่ไม่ได้สัดส่วนกับรายได้ และหลักสุจริตมาจํากัดความรับผิดของผู้คํ้าประกันเพื่อสร้างความเป็นธรรม 3) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยมีปัญหา คือความรับผิดของผู้คํ้าประกันเป็นภาระมากเมื่อเทียบกับรายได้หรือฐานนะของผู้คํ้าประกัน และในกรณีสัญญาสําเร็จรูปที่ผู้ค้ำประกันด้อยก่วาทั้งความรู้ และอํานาจต่อรองได้สร้างภาระอย่างมากให้ผู้ค้ำประกัน 4) ข้อเสนอแนะคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยควรมีการปรับปรุงให้มีความเหมาะสม และเป็นธรรม สอดคล้องกับนานาประเทศ ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 4.1 การจํากัดวงเงินความรับผิดของผู้คํ้าประกัน 4.2 การระบุสิทธิ์เกี่ยงของผู้คํ้าประกันให้ชัดเจนในสัญญา 4.3 การให้เจ้าหนี้มีหน้าที่แจ้งผู้คํ้าประกันทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของจํานวนเงินของหนี้อยางน้อยปี ละครั้ง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/224 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib161725.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License