Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2240
Title: การศึกษาความคุ้มค่าของการติดตั้งหลอดไฟแอลอีดีทดแทนหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ของศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร บี-ควิก กรณีศึกษา สาขาโลตัสหลักสี่
Other Titles: The study of valuation assessment for installing LED bulbs replacing fluorescent bulbs of B-Quik Integrated Car Service Center : case study of Tesco-Lotus Laksi Branch
Authors: มนูญ โต๊ะยามา, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุดารัตน์ สุริวงษ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร บี-ควิก
หลอดไฟฟ้า--การติดตั้ง
หลอดฟลูออเรสเซนต์--การติดตั้ง
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ต้นทุนของการติดตั้งหลอดไฟแอลอีดี 2) ผลตอบแทนของการติดตั้งหลอดไฟแอลอีดีและ 3) ความคุ้มค่าของการติดตั้งหลอดไฟแอลอีดีโดย เปรียบเทียบกับหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ของศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร บี-ควิก สาขาโลตัสหลักสี่ วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่รวบรวมจากศูนย์บริการรถยนต์ ครบวงจร บี-ควิก สาขาโลตัสหลักสี่เกี่ยวกับต้นทุนในการติดตั้งหลอดไฟแอลอีดีและการขนทิ้งทำลาย หลอดไฟเดิม(หลอดฟลูออเรสเซนต์) จำนวนพลังงานไฟฟ้าที่ประหยัดได้ อัตราค่ากระแสไฟฟ้าต่อ หน่วย ค่าแสงสว่างเฉลี่ย ค่าความร้อนจากแสงสว่าง และค่าไฟฟ้าในช่วง 5 เดือน (เมษายน-สิงหาคม 2562) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณต้นทุนทั้งหมดในการติดตั้ง การคำนวณผลตอบแทนจากค่าไฟฟ้า ที่ประหยัดได้ และการวิเคราะห์เปรียบเทียบโหลดของความร้อนจากหลอดไฟ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ค่า ไฟฟ้าและระยะคืนทุนโดยการเปรียบเทียบกับการใช้หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ของสาขาสุขาภิบาล 5 ผลการวิจัยพบว่า 1) ต้นทุนทั้งสิ้นในการติดตั้งหลอดไฟแอลอีดี(ค่าหลอดไฟ ค่าอุปกรณ์ ค่าแรงการติดตั้งและค่าขนทิ้งทำลายหลอดไฟเดิม) ของศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร บี-ควิก สาขาโลตัสหลักสี่ รวมเป็นเงิน 281,200 บาท 2) ผลตอบแทนการติดตั้งหลอดไฟแอลอีดีใน ช่วงเวลาที่ศึกษาโดยคำนวณจากค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้เมื่อเทียบกับกรณีการใช้หลอดไฟฟลูออเรส เซนต์ของสาขาสุขาภิบาล 5 รวมเป็นเงิน 27,121.67 บาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 25.13 และค่าไฟฟ้าลดลง ในแต่ละเดือนเฉลี่ยร้อยละ 25.10 จากค่าไฟฟ้ าที่ใช้หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ และ 3) ความคุ้มค่าของ การติดตั้งหลอดไฟแอลอีดี เมื่อพิจารณาจากโหลดความร้อนของหลอด (การใช้งานวันละ 8 ชัวโมง) ลดลง 1,850 (Btu/hr.W) พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ต่อปี (300 วัน) ลดลง 1,332 ยูนิต ค่าไฟฟ้าต่อปี ลดลง 6,444 บาท โดยมีระยะเวลาคืนทุน 43.1 เดือน
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2240
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
161374.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.19 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons