กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2242
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับโครงการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ ระยะที่ 1 ของเกษตรกรในจังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting adoptions of Rubber Plantation Project to enhance the income and security for farmers in growing source of New Tires Stage 1 by farmers in Phayao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมจิต โยธะคง, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กนกนต ศรีประภา, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
โครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ระดับความรู้เกี่ยวกับโครงการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ ระยะที่ 1 ของเกษตรกร 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับโครงการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ ระยะที่ 1 ของเกษตรกร 4) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และ 5) ปัญหา และข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมการปลูกยางพาราในพื้นที่จังหวัดพะเยา ผลการวิจัย ปรากฏผลดังนี้ 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.39 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพการทาสวนยางมาแล้วเฉลี่ย 5.36 ปี มีพื้นที่ปลูกยางเฉลี่ย 10.54 ไร่ 2) โดยภาพรวมเกษตรกรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการปลูกยางพารา และความรู้เกี่ยวกับโครงการฯ ระดับปานกลาง โดยมีความรู้ในเรื่องการทาแนวกันไฟ และวัตถุประสงค์ของโครงการฯ มากที่สุด 3) โดยภาพรวมเกษตรกรมีระดับการยอมรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ ในระดับปานกลาง เรียงลาดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านชีวภาพ กายภาพ เศรษฐกิจ ความเป็นอยู่และความมั่นคงในอาชีพ นโยบายของรัฐ สังคม บุคคล และการดาเนินงานโครงการฯ และเงื่อนไขสนับสนุนอื่นๆ 4) ปัจจัยด้านกายภาพสัมพันธ์กับพื้นที่ปลูกยางพารา ปัจจัยด้านเศรษฐกิจสัมพันธ์กับพื้นที่ปลูกยางพาราและรายจ่ายจากการทาสวนยาง ปัจจัยด้านสังคมสัมพันธ์กับพื้นที่ปลูกยางพารา และ 5) โดยภาพรวมเกษตรกรมีปัญหามากที่สุด ในด้านเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ เกี่ยวกับจานวนพันธุ์ยางที่ได้รับไม่เพียงพอ และด้านการดาเนินงานโครงการฯ ในส่วนของข้อเสนอแนะ เกษตรกรหลายรายต้องการให้มีการจัดตั้งโรงงานรับซื้อขายยางพาราในพื้นที่จังหวัดพะเยา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2242
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
135289.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons