กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2251
ชื่อเรื่อง: ผลการดำเนินการโครงการส่งเสริมใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียกำจัดเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลลำสมพุง อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Operational results of the extension project of Beauveria bassiana utilization for cassava eradication by farmers in Lam Sompung sub-district of Muak Lek district in Saraburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประเสริฐ สิงห์ศิริพร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --การศึกษาเฉพาะกรณี
มันสำปะหลัง--โรคและศัตรูพืช
เชื้อราบิวเวอร์เรีย--การใช้ประโยชน์
เพลี้ยแป้ง
การศึกษาอิสระ--ส่งเสริมการเกษตร
เกษตรกร--ไทย--สระบุรี
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้ เกี่ยวกับการใช้เชอรานิวเวอร์เรียในมันสำปะหสัง (3) ความคิคเห็นเกี่ยวกับการใช้เชอรา นิวเวอร์เรีย (4) ผลการ ดำเนินงานโครงการส่งเสริมการใช้เชึ้อราบิวเวอร์เรีย (5) ปัญหาและขอเสนอแนะของเกษตรกรในการใช้เชอรานิวเวอร์ เรยกำจัดเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษดรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ตำบลลำสม ทุง จำนวน 150 ราย โดยใชักลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 ราย แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) เกษตรกรผู้ไม่ใช้ เชื้อรานิวเวอร์เรีย จำนวน 50 ราย และ 2) เกษตรกรผู้ใช้เชื้อรานิวเวอร์เรีย จำนวน 50 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นชายและหญิง ใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 49.0 และ 51.0 มีอายุเฉลี่ย 48.58 ปี เกษตรกรทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ ประมาณเกึอบครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างจบการศึกษาระดับประถมต้น เป็นครอบครัวขนาดเล็ก ส่วนใหญ่มีสมาชิกในครอบครัว 3-4 คน และมีแรงงานในครัวเรือน 1 -2 คนเฉลี่ย 2.82 คน เกือบทั้งหมดมีอาชีพทำไร่ มีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดเฉลี่ย 39.49 ไร่ ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 21.41 ไร่ มีรายได้จากมัน สำปะหลังเฉลี่ย 11,657 บาทต่อใร่และมีรายได้รวมเฉลี่ย 165,200 บาทต่อปี การปลูกมันสำปะหลังมีต้นทุนเฉลี่ย 3,111 บาทต่อไร่ ความรู้เกี่ยวกับมันสำปะหลัง ร้อยละ 56.0 ได้จากเพื่อนบ้าน ปัญหาในการศึกษาครั้งนี้พบว่าเกษดรกรยังต้องการการเรียนรู้การใช้ศัตรูธรรมชาติในการป้องกันและ กำจัดศัตรูพืช การได้รับการฝึกอบรมในขั้นตอนต่างๆ ที่สามารถลดต้นทุนจากการใช้สารเคมีการมีแปลงสาธิตใน ชุมชน การได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการ ปัจจัยการผลิตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอเสนอแนะจากการศึกษาคือการติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งภายในชุมชนและ พื้นที่ใกล้เคียงตลอดจนข่าวสารการระบาดของศัตรูพืชอย่างสม่ำเสมอการสร้างผู้นำเกษตรกรเพื่อให้การติดต่อสื่อสาร ด้านความรู้ ด้านวิชาการ ระหว่างนักส่งเสริมและเกษตรกรให้มีความรวดเร็วและทันต่อการระบาดเพื่อการป้องกันที่มึ ประสิทธิภาพ การให้ความรู้แก่เกษตรกรโดยตรง การให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรในหลายๆ รูปแบบ และการ สร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเกษตรกร
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2251
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
119201.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons