กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2257
ชื่อเรื่อง: วิถีชีวิตเกษตรกรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านนาโดน อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The life style of farmers adhering to sufficiency economy philosophy in Ban Nadon Community, Mueang District, Nakhon Phanom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
เชาวณีย์ ศิริสาคร, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--การดำเนินชีวิต
เศรษฐกิจพอเพียง
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพเศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร (2) วิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (3) การพึ่งตนเองของเกษตรกร (4) ความต้องการและแนวทางส่งเสริมการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยเลือกแบบเจาะจง เป็นเกษตรกรที่ผ่านการอบรมเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง จานวน 46 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรกรทุกคนยึดหลักพอประมาณโดยใช้ชีวิตเรียบง่ายไม่ไหลตามกระแสวัตถุนิยม ในด้านการเกษตรปลูกอะไรได้กินอย่างนั้น ความมีเหตุผลโดยใช้เหตุผลในการใช้จ่าย จัดทำบัญชีครัวเรือน รวมทั้งการใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด การมีภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดก็คือการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคน สร้างครอบครัวให้อบอุ่น การปลูกที่หลากหลายเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ความรู้นั้นใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นควบคู่ไปกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ใช้หลักพระพุทธศาสนามีคุณธรรมเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจ เมื่อดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงแล้วก่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านจิตใจ และด้านสังคมและวัฒนธรรม เกษตรกรมีความต้องการส่งเสริมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ การสร้างทีมวิทยากร พัฒนาปราชญ์ชาวบ้าน จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน ฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม เสริมสร้างการเรียนรู้ให้เกิดในชุมชน สร้างกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว และขยายผลการเรียนรู้สู่คนในชุมชน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2257
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
137721.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons