กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2258
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน กรณีศึกษากลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนบ้านบุ่งคล้า ตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Members' participation in school 4-H club group operations : a case study of Bangkla School 4-H Club at Bungkla Sub-district in Lomsak District of Phetchabun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณภัทร ก๋านนท์, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ยุวเกษตรกร--ไทย--เพชรบูรณ์
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยพื้นฐานด้านบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร (2) การดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร (3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียนบ้านบุ่งคล้า ผลการศึกษาพบว่า (1) สมาชิกยุวเกษตรกรมีสัดส่วนของเพศชายมากว่าเพศหญิง อายุเฉลี่ย 15.81 ปี กว่าครึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ส่วนใหญ่สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกเนื่องจากต้องการความรู้ เพราะมาจากครอบครัวเกษตรกรรม ส่วนใหญ่ติดต่อสื่อสารกันเองกับเพื่อนสมาชิก มีความคิดเห็นต่อการสนับสนุนของโรงเรียนและครูที่ปรึกษาอยู่ในระดับมาก การสนับสนุนของผู้ปกครองอยู่ในระดับปานกลาง สมาชิกยุวเกษตรกรส่วนใหญ่เข้าร่วมการฝึกอาชีพกับทางโรงเรียน เพราะเห็นว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ (2) หลังจากร่วมทากิจกรรม กลุ่มสมาชิกมีความรู้ทางการเกษตร เข้าใจในวัตถุประสงค์การดำเนินงาน และเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม การดำเนินงานของกลุ่มอยู่ในระดับมาก (3) การมีส่วนร่วมของสมาชิกยุวเกษตรกรในโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานมากที่สุด รองลงมา คือการมีส่วนร่วมในการประเมินผล และการวางแผน (4) สมาชิกยังมีปัญหาเรื่องการแบ่งหน้าที่ และความสามัคคีในหมู่คณะ สมาชิกยุวเกษตรกรส่วนใหญ่จึงมีข้อเสนอแนะว่ากลุ่มต้องมีความสามัคคี และควรมีการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้องให้มากขึ้นด้วย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2258
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
138371.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons