Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2265
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของสมาชิกในการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์การเกษตรนาหม่อม จำกัด จังหวัดสงขลา
Other Titles: Factors affecting members' decision making on the director board election of Na Mom Agricultural Cooperatives Ltd. Songkhla Province
Authors: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิลาวัลย์ แก้วเกาะสะบ้า, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์การเกษตรนาหม่อม จังหวัดสงขลา--การเลือกตั้ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกที่มีผลต่อการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการ 2) ศึกษาระดับ ปัจจัยด้านผู้สมัครที่มีผลต่อการตัดสินใจของสมาชิกในการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านผู้สมัครในการตัดสินใจของสมาชิกในการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์การเกษตรนาหม่อม จำกัด ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้แทนสมาชิกสหกรณ์การเกษตรนาหม่อม จำกัด กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 141 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติได้แก่ การแจกแจงความถี ค่าร้อยละ ส่วเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า 1) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 51-60 ปี สถานภาพทางครอบครัวสมรสแล้ว วุฒิการศึกษาระดับต่ำกว่า ปริญญาตรี สมาชิกที่มีรายได้ระหว่าง 20,001 - 25,000 บาท ระยะเวลาการเป็นสมาชิกอยู่ระหว่าง 11-20 ปี 2) ปัจจัยดา้นผู้สมัครที่มีผลต่อการตัด สินใจของสมาชิกสหกรณ์ในการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการ พบว่า สมาชิกส่วนใหญ่พิจารณาจากนโยบายของผู้สมัคร รองลงมา คือ คุณสมบติผู้สมัคร น้อยที่สุด คือรูปแบบการหาเสียง เจ้าหน้าที่สหกรณ์ไม่สามารถชี้นำการตัดสินใจของสมาชิกในการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการได้ เพราะสมาชิกส่วนใหญ่เชื่อตนเอง ช่วงระยะเวลาในการตัดสินใจของสมาชิกในการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการก่อนวันเลือกตั้ง 1 - 6 วัน และไม่เปลี่ยนแปลงการตัดสินใจ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า เพศ อายุ รายได ้ และระยะเวลาการเป็นสมาชิก มีความสัมพันธ์กับ การตัดสินใจเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการ ส่วนสถานภาพ และระดับการศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกตั้งคณะกรรมการ อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยด้านคุณสมบัติ นโยบาย และรูปแบบการหาเสียงของผู้สมคัรมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของสมาชิกในการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2265
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext-130348.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.6 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons