Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2272
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorกนกวรรณ จุลเอียด-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.date.accessioned2022-11-30T07:16:50Z-
dc.date.available2022-11-30T07:16:50Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2272-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการควบคุมภายใน 2) ประเมินผล การควบคุมภายใน 3) เปรียบเทียบผลการประเมินการควบคุมภายในกับประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ และ 4) แนวทางการนำผลการประเมินการควบคุมภายในไปใช้ปรับการดำเนินงานของสหกรณ์ ประชากรที่ศึกษา คือ สหกรณ์การเกษตรในจังหวัดกระบี่จำนวน 49 สหกรณ์ กลุ่มตัวอย่างเลือก แบบเจาะจงสหกรณ์การเกษตรที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องจำนวน 32 สหกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ (1) แบบประเมินการควบคุมภายใน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้แทนคณะกรรมการดำเนินการ หรือผู้จัดการสหกรณ์สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ร้อยละและค่าสัดส่วน (2) แบบเก็บข้อมูลทาง การเงินจากรายงานประจำปี ของสหกรณ์ เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยใช้อัตราการหมุนเวียนของ สินทรัพย์รวม อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และ (3) แบบ สัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อสรุปแนวทางการนำผลการประเมินการควบคุมภายในไปปรับการดำเนินงานของสหกรณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) สหกรณ์การเกษตรในจังหวัดกระบี่ ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติกิจกรรมไม่ครบ ทุกด้าน เนื่องจากการดำเนินธุรกิจของแต่ละสหกรณ์แตกต่างกันโดยด้านที่สหกรณ์ไม่ปฏิบัติตามจุดควบคุมมาก ที่สุด คือ ด้านการจัดทำทะเบียนและการจัดทำรายงานประจำปี การรายงานการเปลี่ยนแปลงในทะเบียนหุ้นต่อนาย ทะเบียนสหกรณ์ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นปี ทางบัญชีของสหกรณ์ 2) สหกรณ์การเกษตรในจังหวัดกระบี่ส่วน ใหญ่มีผลการประเมินการควบคุมภายในอยู่ในระดับดี 3) การเปรียบเทียบผลการประเมินการควบคุมภายในกับ ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดกระบี่ พบว่า การควบคุมภายใน ที่อยูในระดับดีมาก เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผลการดำเนินงานของสหกรณ์มีประสิทธิภาพ แต่ไม่สามารถนำผลการควบคุมภายใน เป็นตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ดีของสหกรณ์ได้ เนื่องจากมีปัจจัยอื่นๆ ทั้งภายนอกและภายในที่มีผลต่อการ ดำเนินงานของสหกรณ์ และ 4) แนวทางการนำผลการประเมินการควบคุมภายในไปใช้ปรับการดำเนินงานของ สหกรณ์ควรเน้นที่จุดอ่อนหรือข้อบกพร่องที่ค้นพบ และสื่อสารแก่ผู้บริหารระดับสูงของสหกรณ์ให้รับทราบเพื่อ ปรับปรุงการทำงานให้มีการปฏิบัติตามจุดควบคุมที่กำหนดไว้มีการตรวจสอบติดตามผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งมี การอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรทุกฝ่ายของสหกรณ์เพื่อให้เกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและบรรลุ วัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสหกรณ์การเกษตร--การบริหารth_TH
dc.subjectการควบคุมภายในth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สหกรณ์th_TH
dc.titleแนวทางการนำผลการประเมินการควบคุมภายในไปใช้ปรับการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดกระบี่th_TH
dc.title.alternativeApproaches for applying internal control evaluations to improve the performance of agricultural cooperatives in Krabi Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สหกรณ์)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) the internal control of agricultural cooperatives in Krabi province; 2) the evaluation of their internal control ; 3) how the results of the cooperatives’ internal control evaluations reflected the efficiency of their operations; and 4) approaches for utilizing the internal control evaluations to improve the cooperatives’ performance. The study population consisted of the 49 agricultural cooperatives in Krabi province, out of which a sample population of 32 cooperatives that have been doing business consistently were chosen for analysis. The data collection tools consisted of (1) an internal control evaluation form, which was used to collect information from interviews with each cooperative’s manager or a representative of the board of directors, and data were analyzed to find frequency, percentage and proportion; (2) a financial data form for collecting data from each cooperative’s annual report and then calculating the asset turnover ratio, the rate of returns on assets, and the returns on equity ratio; and (3) an in-depth interview form for reaching conclusions on approaches for utilizing the internal control evaluations to improve the cooperatives’ performance. The results showed that 1) most of the agricultural cooperatives in Krabi Province did not implement every internal control activity because the nature of their businesses were different. The internal control point that they neglected the most was the registry and annual reporting section, i.e. reporting any changes in the shareholding registry to the registrar within 30 days of the end of the accounting period; 2) most of the cooperatives surveyed had a good level of evaluating their internal control; 3) a very good level of internal control was found to be one indicator of good financial performance, but it could not predict good performance because of the many other internal and external factors that affect each cooperative’s performance; and 4) the recommended approach for applying the internal control evaluations to improve the cooperatives’ performance is to focus on the shortcomings or weak points that are discovered and to communicate with the cooperative’s highlevel executives to inform them of how the internal control measures could be more fully implemented, then to follow this up. In addition, all the cooperatives’ personnel should receive continuous training so that they can develop their work and meet the objectives of internal controlen_US
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
146702.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.2 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons