กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2272
ชื่อเรื่อง: แนวทางการนำผลการประเมินการควบคุมภายในไปใช้ปรับการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดกระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Approaches for applying internal control evaluations to improve the performance of agricultural cooperatives in Krabi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์
กนกวรรณ จุลเอียด
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตร--การบริหาร
การควบคุมภายใน
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการควบคุมภายใน 2) ประเมินผลการควบคุมภายใน 3) เปรียบเทียบผลการประเมินการควบคุมภายในกับประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์และ 4) แนวทางการนำผลการประเมินการควบคุมภายในไปใช้ปรับการดำเนินงานของสหกรณ์ ประชากรที่ศึกษา คือ สหกรณ์การเกษตรในจังหวัดกระบี่จำนวน 49 สหกรณ์ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงสหกรณ์การเกษตรที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องจำนวน 32 สหกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ (1) แบบประเมินการควบคุมภายใน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้แทนคณะกรรมการดำเนินการ หรือผู้จัดการสหกรณ์สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ร้อยละและค่าสัดส่วน (2) แบบเก็บข้อมูลทางการเงินจากรายงานประจำปี ของสหกรณ์ เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยใช้อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และ (3) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อสรุปแนวทางการนำผลการประเมินการควบคุมภายในไปปรับการดำเนินงานของสหกรณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) สหกรณ์การเกษตรในจังหวัดกระบี่ ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติกิจกรรมไม่ครบทุกด้าน เนื่องจากการดำเนินธุรกิจของแต่ละสหกรณ์แตกต่างกันโดยด้านที่สหกรณ์ไม่ปฏิบัติตามจุดควบคุมมากที่สุด คือ ด้านการจัดทำทะเบียนและการจัดทำรายงานประจำปี การรายงานการเปลี่ยนแปลงในทะเบียนหุ้นต่อนายทะเบียนสหกรณ์ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นปี ทางบัญชีของสหกรณ์ 2) สหกรณ์การเกษตรในจังหวัดกระบี่ส่วนใหญ่มีผลการประเมินการควบคุมภายในอยู่ในระดับดี 3) การเปรียบเทียบผลการประเมินการควบคุมภายในกับประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดกระบี่ พบว่า การควบคุมภายใน ที่อยูในระดับดีมาก เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผลการดำเนินงานของสหกรณ์มีประสิทธิภาพ แต่ไม่สามารถนำผลการควบคุมภายในเป็นตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ดีของสหกรณ์ได้ เนื่องจากมีปัจจัยอื่นๆ ทั้งภายนอกและภายในที่มีผลต่อการดำเนินงานของสหกรณ์ และ 4) แนวทางการนำผลการประเมินการควบคุมภายในไปใช้ปรับการดำเนินงานของสหกรณ์ควรเน้นที่จุดอ่อนหรือข้อบกพร่องที่ค้นพบ และสื่อสารแก่ผู้บริหารระดับสูงของสหกรณ์ให้รับทราบเพื่อปรับปรุงการทำงานให้มีการปฏิบัติตามจุดควบคุมที่กำหนดไว้มีการตรวจสอบติดตามผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งมีการอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรทุกฝ่ายของสหกรณ์เพื่อให้เกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน.
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2272
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146702.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons