กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2283
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น จำกัด จังหวัดขอนแก่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Operational evaluation of Khon Kaen Teachers Saving and Credit Cooperatives Ltd., Khon Kaen Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษณพันธุ์ แทนไธสง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น--การประมิน
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของสหกรณ์ ออมทรัพย์ครู 2) ผลการประเมินการดำเนินงาน ของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูและ 3) แนวโน้มผลการดำเนินงานสหกรณ์ออมทรัพย์ครู วิธีการศึกษา ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากงบดุล งบกำไรขาดทุน หมายเหตุประกอบงบการเงิน และเอกสาร ทางการเงินอื่นๆ ของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น จำกัด ในช่วงปี 2551 – 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ CAMELS Analysis ในมุมมอง 6 มิติ โดยเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ย Peer Group และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพทั่วไปของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น จำกัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 เป็นสหกรณ์ขนาดใหญ่มาก มีสมาชิก 18,361 คน ดำเนินธุรกิจให้เงินกู้แก่สมาชิก และบริการรับฝากเงินจาก สมาชิกและสหกรณ์อื่น ฐานะทางการเงิน มีสินทรัพย์รวม 19,579.49 ล้านบาท หนี้สินรวม 11,043.53 ล้านบาท ทุนของสหกรณ์รวม 8,553.95 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิประจำปี 741.18 ล้านบาท 2) ผลการดำเนินงานในช่วงปี 2551 -2555 ดังนี้ มิติที่ 1 ความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยงอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของทุน โดยสูงกวาค่าเฉลี่ย มิติที่ 2 คุณภาพของสินทรัพย์อยู่ในเกณฑ์ดีอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์สูงกวาค่าเฉลี่ย มิติ ที่ 3 ขีดความสามารถในการบริหาร อัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจ กำไรต่อสมาชิกอยู่ในเกณฑ์ดี เงินออมต่อ สมาชิกส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี นอกจากปี 2551 -2552 อยู่ในเกณฑ์ไม่น่าพอใจ และหนี้สินต่อสมาชิกอยูในเกณฑ์ ไม่น่าพอใจ มิติที่ 4 การทำกำไรปี 2551-2552 อยู่ในเกณฑ์ดี แต่ปี 2553 - 2555 ต่ำกวาค่าเฉลี่ย อยู่ในเกณฑ์ไม่น่า พอใจ มิติที่ 5 สภาพคล่องทางการเงินอยู่ในเกณฑ์ไม่น่าพอใจ อัตราทุนหมุนเวียนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และมิติที่ 6 ผลกระทบของธุรกิจในช่วงที่ศึกษา มีการปรับอัตราดอกเบี้ยหลายครั้ง และมีคู่แข่งขันในการดำเนินธุรกิจเพิ่มมาก ขึ้น 3) แนวโน้มผลการดำเนินงานของสหกรณ์ มิติ ที่1 ความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยง อัตราผลตอบแทน ต่อส่วนของทุนเพิ่มขึ้นทุกปี และสูงกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 2 คุณภาพของสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ เพิ่มขึ้นทุกปี สูงกว่าค่าเฉลี่ยโดยเฉพาะปี 2554 แต่ลดลงในปี 2555 มิติที่ 3 ขีดความสามารถในการบริหาร อัตรา การเจริญเติบโตของธุรกิจ กำไรต่อสมาชิก เพิ่มขึ้นทุกปีโดยเฉพาะปี 2554 แต่ลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในปี 2555 เงิน ออมต่อสมาชิก และหนี้สินต่อสมาชิก เพิ่มขึ้นทุกปี และสูงกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 4 การทำกำไร อัตรากำไรสุทธิ ค่อนข้างคงที่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย ส่วนอัตราการเติบโตของทุนเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยแต่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 5 สภาพ คล่องทางการเงินมีแนวโน้มลดลงและต่ำกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 6 ผลกระทบของธุรกิจ แนวโน้มการปรับเพิ่มขึ้นของ อัตราดอกเบี้ยทั้งเงินกู้และเงินฝาก มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่จูงใจให้สมาชิกไปใช้บริการมากขึ้น
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2283
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
140525.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons