Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2289
Title: การพยากรณ์รายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทย
Other Titles: Value-added tax revenue forecasting of Thailand
Authors: รัชฎาพร เลิศโภคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษดา ดอกพุฒ, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
การจัดเก็บภาษี
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาโครงสร้างของภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทย 2) พยากรณ์รายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทย โดยใช้ค่าความยืดหยุ่นของรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อผลิตกัณฑ์มวลรวมในประเทศ การศึกษาการพยากรณ์รายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยในครั้งนี้ ได้ทำการศึกษา วิเคราะห์ทั้งในเชิงพรรณนา และเชิงปริมาณ ในเชิงพรรณนาศึกษาโคยวิธีการวิเคราะห์โครงสร้าง รายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทย ทั้งแต่ปีงบประมาณ 2540 -2552 สำหรับการวิเคราะห์เชิง ปริมาณใช้ค่าความยืดหยุ่นของรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยใช้ แบบจำลอง OLS และใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ประเภทอนุกรมเวลารายไตรมาส ทั้งแต่ไตรมาส ที่ 1 ปีงบประมาณ 2544 ถึงไตรมาสที่ 4 ปีงบประมาณ 2550 ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา คือ รายได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าใช้จ่ายในการบริโภคภาคเอกชน ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ในการพยากรณ์รายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทย ได้ทำ การพยากรณ์ตั้งแต่ไตรมาส ที่ 1 ปีงบประมาณ 2551 ถึงไตรมาส ที่ 2 ปีงบประมาณ 2553 ตัวแปรนี้ ใช้ในการศึกษา คือ รายได้ภาษมูลค่าเพิ่ม ค่าความยืดหยุ่นของรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวมในประเทศ และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่จัดเก็บได้เป็นสัดส่วนที่สูงกว่าภาษี ประเภทอื่นทั้งหมด และรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการขยายตัวของ เศรษฐกิจ 2) การพยากรณ์รายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทย โดยใช้ค่าความยืดหยุ่นของ รายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ พบว่ามีค่าความยืดหยุ่น เท่ากับ 1.557 โดย พบว่ารายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มคลาดเคลื่อนไปจากผลการจัดเก็บรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มนี้เก็บได้จริงโดย เฉลี่ยร้อยละ 3.60
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2289
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
123658.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.02 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons