กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2289
ชื่อเรื่อง: การพยากรณ์รายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Value-added tax revenue forecasting of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัชฎาพร เลิศโภคานนท์
กฤษดา ดอกพุฒ, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
การจัดเก็บภาษี
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาโครงสร้างของภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทย2) พยากรณ์รายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทย โดยใช้ค่าความยืดหยุ่นของรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อผลิตกัณฑ์มวลรวมในประเทศการศึกษาการพยากรณ์รายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยในครั้งนี้ ได้ทำการศึกษา วิเคราะห์ทั้งในเชิงพรรณนา และเชิงปริมาณ ในเชิงพรรณนาศึกษาโคยวิธีการวิเคราะห์โครงสร้างรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทย ทั้งแต่ปีงบประมาณ 2540 -2552 สำหรับการวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้ค่าความยืดหยุ่นของรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยใช้แบบจำลอง OLS และใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ประเภทอนุกรมเวลารายไตรมาส ทั้งแต่ไตรมาส ที่ 1 ปีงบประมาณ 2544 ถึงไตรมาสที่ 4 ปีงบประมาณ 2550 ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา คือ รายได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าใช้จ่ายในการบริโภคภาคเอกชน ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ในการพยากรณ์รายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทย ได้ทำการพยากรณ์ตั้งแต่ไตรมาส ที่ 1 ปีงบประมาณ 2551 ถึงไตรมาส ที่ 2 ปีงบประมาณ 2553 ตัวแปรนี้ ใช้ในการศึกษา คือ รายได้ภาษมูลค่าเพิ่ม ค่าความยืดหยุ่นของรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจผลการศึกษาพบว่า 1) ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่จัดเก็บได้เป็นสัดส่วนที่สูงกว่าภาษีประเภทอื่นทั้งหมด และรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการขยายตัวของ เศรษฐกิจ 2) การพยากรณ์รายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทย โดยใช้ค่าความยืดหยุ่นของรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ พบว่ามีค่าความยืดหยุ่น เท่ากับ 1.557 โดยพบว่ารายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มคลาดเคลื่อนไปจากผลการจัดเก็บรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มนี้เก็บได้จริงโดยเฉลี่ยร้อยละ 3.60
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2289
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
123658.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons