กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/228
ชื่อเรื่อง: | การคุ้มครองดูแลบุตรของลูกจ้างก่อนและหลังคลอด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Protection and care for employees' children before and after birth |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิติพงศ์ หังสพฤกษ์ พัลลอง มั่นดี, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ชนินาฏ ลีดส์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ สวัสดิการลูกจ้าง สิทธิลูกจ้าง การลาคลอด--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ สตรี--การจ้างงาน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ อนามัยแม่และเด็ก--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ กฎหมายแรงงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่อง การคุ้มครองดูแลบุตรของลูกจ้างก่อนและหลังคลอดมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดและวิวัฒนาการของการคุ้มครองดูแลบุตรของลูกจ้างในต่างประเทศและในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองดูแลบุตรของลูกจ้างตามกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายต่างประเทศได้แก่กฎหมายของประเทศแคนาดา นอร์เวย์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และจีน (3) เพื่อวิเคราะห์กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองดูแลบุตรของลูกจ้างใน ประเทศไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายตามข้อ (2) และ (4) เพื่อนำผลการวิเคราะห์มาสังเคราะห์เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองดูแลบุตรของลูกจ้างก่อนและหลังคลอด งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยทางเอกสาร จากหนังสือ ตำรา บทความ คำพิพากษาศาลฎีกา วารสาร และเอกสารข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งกฎหมายของประเทศไทย และกฎหมายของต่างประเทศ โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยพบว่ากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองดูแลบุตรของลูกจ้างในประเทศไทย เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายของต่างประเทศแล้ว กฎหมายไทยมีข้อบกพร่อง และมีปัญหาที่ต้องแก้ไขเพิ่มปรับปรุงดังนี้ (1) เพิ่มข้อจากัดเกี่ยวกับการทำงานที่อาจก่อให้เกิดอันตราต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ (2) เพิ่มข้อจำกัดในการทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด (3) กาหนดให้มีจำนวนวันลาก่อนคลอดและลาหลังคลอดที่ชัดเจน (4) ให้สามีที่เป็นลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อดูแลภริยาและบุตร (5) ให้มีการตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กในสถานประกอบกิจการของนายจ้าง (6) ในระหว่างทำงานต้องมีการพักเพื่อให้นมบุตร (7) เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร (8) บัญญัติกฎหมายใหม่เพื่อคุ้มครองนมมารดา (9) การเลี้ยงดูแลเด็กป่วยต้องแยกออกจากเด็กไม่ป่วย (10) กาหนดคุณสมบัติของพี่เลี้ยงเด็กให้เหมาะสม (11) ยกเลิกการให้เด็กอายุ 3 ขวบแสดงแบบโฆษณานม (12) ให้แต่ละกระทรวงที่มีอำนาจเกี่ยวกับการดูแลเด็กต้องออกกฎกระทรวงให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 255 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/228 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib143891.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 23.26 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License