กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2321
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการค้างชำระหนี้เงินกู้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting members' unpaid loan of Mae Sariang Agricultural Co-operatives Ltd. in Mae Hong Son Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิไลลักษณ์ ศรีบุญเรือง, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง
การชำระหนี้
เงินกู้ส่วนบุคคล
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัย ส่วนบุคคลของสมาชิกสหกรณ์ 2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและปัจจัยด้านสังคมของสมาชิกสหกรณ์ 3) ปัจจัยด้านการบริหารงานของสหกรณ์ และ 4) ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการต้างชำระหนี้เงินกู้ และความต้องการของสมาชิกสหกรณ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด ที่ค้างชำระหนี้เงินกู้ จำนวนทั้งหมด 231 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 147 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุอยู่ในช่วง 41 - 45 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับประถมศึกษา ระยะเวลาการเป็นสมาชิกส่วนใหญ่ 5 - 10 ปี 2) สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่กู้เงินประเภทเงินกู้ระยะสั้นเพื่อผลิตผลหลัก รายได้จากการประกอบอาชีพ 30,000 - 60,000 บาทต่อปี ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 30,000 - 60,000 บาทต่อปี ส่วนใหญ่ไม่มีภาระหนี้สินกับสถาบันการเงินอื่น สมาชิกในกลุ่มเดียวกันและผู้นำไม่มีอิทธิพลต่อการชำระหนี้เงินกู้ของสมาชิก ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อการค้างชำระหนี้เงินกู้ของสมาชิกสหกรณ์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ ประเภทการกู้เงินของสมาชิก รายได้จากการประกอบอาชีพของสมาชิก และค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของสมาชิก 3) กระบวนการด้านการติดตามหนี้ของสหกรณ์ การจัดชั้นลูกหนี้ของสหกรณ์ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสหกรณ์ มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการค้างชำระหนี้เงินกู้้ ได้แก่ ราคาผลผลิตตกต่ำ และต้นทุนการผลิตสูง สมาชิกต้องการให้สหกรณ์ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ขยายเวลาการชำระเงินกู้ และแบ่งการชำระหนี้ต้นเงินเป็นงวด ๆ โดยไม่มีดอกเบี้ยและค่าปรับ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2321
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext-146721.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons