Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2322
Title: ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อปริมาณการให้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์
Other Titles: Economic factors affecting the amount of Real Estate Loans of Commercial Banks
Authors: พอพันธ์ อุยยานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จารุวรรณ พิมพาภรณ์, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
สินเชื่อที่อยู่อาศัย
อสังหาริมทรัพย์
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์และสินเชื่อ อสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย 2) ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อปริมาณการให้สินเชื่อ อสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย วิธีการศึกษา ใช้วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณเชิงซ้อนด้วยวิธีกาลังสองน้อยที่สุด ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ดัชนีราคาผู้บริโภค และมูลค่าการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายเดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2551 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2560 รวม 120 เดือน ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์และสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ในประเทศไทย มีทั้งช่วงรุ่งเรืองและตกต่ำขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ อาทิ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง นโยบายรัฐบาล และภัยธรรมชาติ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวสามารถทำให้เกิดวิกฤตการณ์ ทางเศรษฐกิจได้ทั้งสิ้นโดยจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาทา ให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณา การให้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ได้อย่างรอบคอบมากขึ้น 2) ปัจจัยที่กำหนดปริมาณสินเชื่อ อสังหาริมทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ และดัชนีราคาผู้บริโภค โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05 ส่วนมูลค่าการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน และอัตรา ดอกเบี้ยเงินกู้ มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่ไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ เนื่องจากในช่วงเวลาที่ทำการศึกษามีหลายปัจจัยที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจมีความผันผวน เช่น การเกิดวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2551 เกิดมหาอุทกภัยช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 และเหตุการณ์ทางการเมืองในช่วงปี พ.ศ. 2556-2557 ทำให้ธนาคารพาณิชย์ระมัดระวัง และเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์มากขึ้น
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2322
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
161001.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.11 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons