กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2331
ชื่อเรื่อง: ความเชื่อมั่นของสมาชิกต่อการบริหารจัดการของสหกรณ์อิบนูเอาฟ จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Confidence of members in the management of Ibnuaouf Cooperative Limited in Mueang District, Satun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
สกันดาเรีย แวมายิ, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์อิบนูเอาฟจำกัด--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความเชื่อมั่น ของสมาชิกในการบริหารจัดการของสหกรณ์อิบนูเอาฟ จำกัด 2) ปัจจัย ส่วนบุคคลของสมาชิกที่มีต่อความเชื่อมนั่ ของสมาชิกในการบริหารจัดการของสหกรณ์อิบนูเอาฟ จำกัด และ 3) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะที่มีต่อความเชื่อมั่น ของสมาชิกในการบริหารจัดการของสหกรณ์อิบนูเอาฟ จำกัด ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ สมาชิกสหกรณ์อิบนูเอาฟ จำกัด โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 391 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ การแจกแจงค่า ความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F- test (ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความเชื่อมั่น ของสมาชิกในการบริหารจัด การของสหกรณ์อิบนูเอาฟ จำกัด โดยรวมทั้ง 5 ด้าน มีความเชื่อมั่นในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านภาพลักษณ์ชื่อเสียง ความมั่นคง ความปลอดภัย อาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์มีระดับความเชื่อมั่นสูงสุด รองลงมาด้านการดำเนินงาน ด้านคุณสมบัติและการปฏิบัติงานของฝ่ายจัดการ ด้านการให้บริการข้อมูลข่าวสารและสวัสดิการ และด้านคุณสมบัติคณะกรรมการดำเนินงาน มีระดับความเชื่อมั่นต่ำสุด 2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อความเชื่อมั่น ของสมาชิกในการบริหารจัดการของสหกรณ์อิบนูเอาฟ จำกัด พบว่าสมาชิกที่มีเพศต่างกัน มีความเชื่อมั่น ในด้านคุณสมบัติคณะกรรมการดำเนินการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 สมาชิกที่มีอายุต่างกัน มีความเชื่อมั่นในด้านการดำเนินงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ระดับการศึกษาต่างกัน มีความเชื่อมั่นไม่แตกต่างกันในทุกด้าน สถานภาพที่แตกต่างกัน มีระดับความเชื่อมั่น แตกต่างกันในทุกด้าน รายได้ต่างกัน มีผลต่อความเชื่อมั่น ในด้านภาพลักษณ์ ชื่อเสียง ความมั่นคงความปลอดภัย อาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และด้านการให้บริการ ข้อ มูลข่าวสารแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ .05 และระยะเวลาการเป็นสมาชิกที่ต่างกัน มีผลต่อความเชื่อมั่น ในด้านคุณสมบัติและการปฏิบัติงานของฝ่ายจัดการ และด้านการให้บริการข้อมูล ข่าวสาร และสวัส ดิการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3) ปัญหาและอุปสรรคพบว่า ข้อเสนอแนะที่มีผลต่อความเชื่มั่นของสมาชิกในการบริหารจัดการของสหกรณ์อิบนูเอาฟ จำกัด ได้แก่ ด้านการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของสหกรณ์ การสื่อสาร การประชุมกลุ่ม ขยายที่ทำการให้กว้างขวาง และให้มีที่จอดรถที่สะดวกมากกว่านี้ การเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่เรียกเก็บ จากสมาชิกให้ต่ำลง และให้มีบริการตู้ ATM ของสหกรณ์
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2331
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext-148500.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons